ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เหรียญพระพุทธสิหิงค์ วัดราชประดิษฐ์ กรุงเทพฯ


เหรียญพระพุทธสิหิงค์ วัดราชประดิษฐ์ กรุงเทพฯ


พระเครื่อง เหรียญปั๊มพระพุทธสิหิงค์ รุ่นฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม นี้ แม้เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมสูง แต่จำนวนการจัดสร้างไม่มากนัก พบเห็นได้ยากในวงการนักสะสมพระเครื่องปัจจุบัน และสนนราคาค่อนข้างสูง เพราะผู้มีไว้สักการะต่างหวงแหนไม่ค่อยมีการเปลี่ยนมือ

กล่าวสำหรับ พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองอีกองค์หนึ่งของประเทศไทย มีทั้งหมด 3 องค์ คือ ประดิษฐานที่จังหวัดนครศรีธรรมราช กรุงเทพฯ และเชียงใหม่

พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปโบราณศิลปะแบบลังกา พระเจ้าสีหฬะพระมหากษัตริย์แห่งลังกาทวีป ได้ทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ.700 ได้เข้ามาสู่สยามในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีพุทธลักษณะงดงาม และเป็นที่นับถือศรัทธาของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปว่า เป็นพระพุทธรูปที่ให้ความร่มเย็น ความอุดมสมบูรณ์ จึงมักถูกอัญเชิญอาราธนามาสรงน้ำกันในวันขึ้นปีใหม่และวันสงกรานต์เป็นประจำทุกปี

สำหรับวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรวิหาร สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เพื่ออุทิศถวายแด่พระสงฆ์คณะธรรมยุต และเพื่อให้ถูกต้องตามโบราณราชประเพณีที่ว่า บนแผ่นดินไทย เมื่อเมืองใดเป็นเมืองหลวง จะต้องมีวัดสำคัญ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดราชประดิษฐ์

ทรงเห็นว่า กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงมีอยู่เพียง 2 วัดเท่านั้น คือ วัดมหาธาตุและวัดราชประดิษฐ์ จึงมีพระราชดำริสร้างวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามขึ้น ทรงใช้ทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ร่วมกับเงินบริจาคในการซื้อไหกระเทียมแตก ขวดแตก เครื่องลายครามแตก เป็นต้น มาถมพื้นที่ซึ่งต่ำและเป็นดินอ่อนเพื่อป้องกันการทรุดเมื่อสร้างพระอารามขนาดใหญ่

ด้วยพระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธสิหิงค์เป็นอย่างยิ่ง จึงโปรดให้จำลองหล่อพระพุทธสิหิงค์ขึ้นให้ขนาดใหญ่กว่าองค์เดิม เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ขนานพระนามว่า "พระพุทธสิหิงค์ปฏิมากร" นับแต่นั้นมา

ในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ได้มีการจัดสร้าง "เหรียญปั๊มพระพุทธสิหิงค์" โดยให้ชื่อรุ่นว่า "ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี" เพื่อร่วมเป็นที่ระลึกฉลองกรุง

นับได้ว่าเป็นเหรียญปั๊มที่มีความสวยงามและเป็นเหรียญพระพุทธที่ได้รับความนิยมสะสมในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชามากเหรียญหนึ่งทีเดียว

พระเครื่อง เหรียญปั๊มพระพุทธสิหิงค์ รุ่นฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม เป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ หูเชื่อม ด้านหน้า ยกขอบเป็นเส้นลวดโดยรอบ ตรงกลางเป็นรูปจำลองพระพุทธสิหิงค์ปฏิมากรประทับปางสมาธิเหนืออาสนะฐานบัว 2 ชั้น จารึกอักษรไทยว่า "พระพุทธสิหิงค์"

พื้นเหรียญเป็นลายดอกไม้ร่วง ด้านหลัง เป็นพื้นเรียบ ตรงกลางมีอักขระขอม 2 แถว ด้านบนและล่างประดับลวดลายไทย เป็นเหรียญที่มีพุทธลักษณะเรียบง่าย แต่คงไว้ซึ่งความงามสง่าในทีด้วยรูปจำลองพระพุทธสิหิงค์ปฏิมากร
เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้อง:บทความพระเครื่อง

Daddy Yummy

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา พระเกจิอาจารย์ที่มีอายุยืนยาวที่สุดถึง 117 ปี ท่านครองวัดซึ่งอยู่โดดเดี่ยวภายในแวดวงของอิสลามมิกชน ขอบคุณภาพสวยๆจาก ทีนิวส์ หลวงปู่ทองเหรียญหน้าจมเป็นเหรียญที่แกะด้วยฝีมือเป็นเลิศ เหรียญหลวงปู่ทองรุ่นแรกนี้ สร้างในราว ปี พ.ศ.2480 ซึ่งเป็น พระเครื่อง เหรียญรูปหลวงปู่เหรียญเดียวเท่านั้นที่สร้างในขณะที่ท่านยังดำรงชีวิตอยู่นอกจากเหรียญรุ่นนี้แล้ว ปรากฏว่า มีสานุศิษย์ของหลวงปู่ทองได้สร้างขึ้นอีก 2-3 แบบ สำหรับพระเครื่องวัตถุมงคลเหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา รุ่น 1 ซึ่งท่านอาจารย์แก้ว คำวิบูลย์ เป็นผู้สร้างนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 พิมพ์ด้วยกัน พิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าลอย พิมพ์นี้ รูปท่านลายเด่นอยู่เหนือพื้นเหรียญ สำหรับอีกพิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าจม นั้น รูปหน้าท่านจมลงไปในพื้นเหรียญอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่แสดงเป็นเบ้าตา , แก้มที่ตอบและรูปปากของท่านด้วยเอกลักษณะของพิมพ์ดังกล่าวแล้ว นักสะสมพระเครื่องจึงแยกเป็น พิมพ์หน้าลอยและพิมพ์หน้าจมสำหรับรายละเอียดนั้นเหมือนกันทั้ง ๒ พิมพ์ ผิดแต่ขนาดของพิมพ์หน้าลอยเล็กกว่าพิมพ์หน้าจมเล็กน้อยเท่าน

เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รุ่นเสาร์ห้า หลวงพ่อนุ่ม

เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รุ่นเสาร์ห้า หลวงพ่อนุ่ม เครดิตภาพ wep-pra นับเป็นพระเครื่องวัตถุมงคลอีกประเภทหนึ่งของ หลวงพ่อนุ่ม ที่ได้รับความนิยมมากความจริงแล้วพระในรุ่นเสาร์ห้านี้ หลวงพ่อได้จัดสร้างขึ้นรวม 3 แบบด้วยกันคือ เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม , พิมพ์พระนางพญา และ พิมพ์พระปางสมาธิ แต่ที่นิยมกันมากที่สุดมีราคาแพงที่สุด ก็ได้แก่ เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รองลงมาก็คือ พิมพ์นางพญา และพิมพ์สมาธิ ตามลำดับ ในส่วนของ พระเครื่อง เหรียญหล่อสี่เหลี่ยมนั้น เป็นพระขนาดประมาณ 2.3-3.2 ซ.ม. ด้านหน้าเป็นรูปพระองค์พระปางสมาธิ ฐาน 3 ชั้น อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยม เหนือฐานชั้นบนมีกลีบบัวรองรับองค์พระอยู่รวม 6 กลีบ ส่วนด้านหลังเป็นยันต์ตรีนิสิงเห สำหรับพิมพ์นางพญาและพิมพ์สมาธิ องค์พระเป็นรูปสามเหลี่ยมปางมารวิชัย และปางสมาธิ ส่วนด้านหลังจะเรียบทั้ง 2 พิมพ์ ทั้ง 3 แบบพิมพ์พระเครื่องนี้ จัดสร้างขึ้นโดยการหล่อด้วยด้วยเนื้อทองเหลืองและด้วยการเป็นพระหล่อนี่เองทำให้พุทธลักษณะและเนื้อหาขององค์พระเครื่องประกอบกันเข้าแล้ว ดูสวยแปลกตาและมีเสน่ห์ไม่แพ้เหรียญหล่อหรือพระหล่อจากสำนักใดๆเลย ในด้านพุทธคุณไม่ถือเป็นรอง

พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด

พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา เครดิตภาพ: web pra พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด แบ่งออกเป็น 3 พิมพ์ ด้วยกัน คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พุทธลักษณะพระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด พุทธลักษณะคล้ายพระกริ่ง 79 สมเด็จพระสังฆราชแพ โดยเฉพาะ พิมพ์ใหญ่ ด้านหลังมีตัว อุ อยู่ตรงกลางฐาน หล่อด้วยเนื้อทองผสม บางองค์เนื้อจัดมาก ผิวแบบเนื้อสัมฤทธิ์ก็มี  บางองค์แก่ทองเหลือง บางองค์แก่ทองแดง ในพิธีการเททองหล่อพระกริ่ง บางหอย นี้ ได้จัดสร้าง พระรูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อจาด ด้วย แต่น้อยมาก นักสะสมพระเครื่องส่วนใหญ่ไม่รู้จักยกเว้นคนพื้นที่ พระรูปหล่อลอยองค์มี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานตอกชื่อ สวัสดิ์ ผ่องสกุล (สันนิษฐานว่าเป็นชื่อผู้สร้าง) , พิมพ์ฐานจาร(แต่บางคนองค์ไม่มี)พระกริ่ง บางหอย พิจารณาเล่นหาได้ง่าย และมีจำนวนพระเครื่องที่หมุนเวียนเปลี่ยนมือในวงการก็มีมากพอเพียง และที่สำคัญราคาเช่าหายังพอสู้กันไหว พระกริ่ง บางหอย พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ส่วนใหญ่ที่พบมักจะหล่องดงามมาแต่เดิม จึงไม่จำเป็นต้องแต่ง แต่ก็มีบ้างที่แต่งเซาะเนื้อรายละเอียดบางแห่ง อาทิ จีวรข้างแขน,บาตรน้ำมนต์ในองค์ที่หล่