ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระผงสมเด็จโต วัดระฆัง รุ่นอินโดจีน ปี 85


พระผงสมเด็จโต วัดระฆัง รุ่นอินโดจีน ปี 85

วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นแหล่งกำเนิด “พระสมเด็จ” ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมเล่นหากันองค์ละหลายๆล้านบาท และหายากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร

ผู้สร้าง “พระสมเด็จ” เป็นองค์ปฐมแห่ง สำนักวัดระฆัง ก็คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เจ้าตำรับผงวิเศษ 5 ประการ และพระคาถาชินบัญชร

สำหรับ หลวงปู่นาค หรือพระเทพสิทธินายก เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม องค์ที่ 9 ท่านก็จัดสร้าง พระผงสมเด็จ ตามตำรับของ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต เช่นกัน

และได้จัดสร้างพระครั้งแรกเมื่อครั้งสงครามอินโดจีน เมื่อปี 2485

เพื่อแจกแก่บรรดาเหล่า ทหารหาญ และประชาชนทั่วไป นำไปสักการบูชาติดตัวหวังพึ่งพุทธคุณ

โดยสร้างเป็นพระผงรูปเหมือนสมเด็จโตซึ่งท่านได้นำ ผงอิทธิเจ และ ผงศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นมรดกตกทอดกันมาของสำนัก วัดระฆังโดยตรง นำมาบดจนละเอียด ผสมกับผงของท่าน ซึ่งใช้เวลาเขียนสูตร แล้วลบเป็นผงนานหลายปี พร้อมกับดอกไม้บูชารูปเหมือนสมเด็จโต และดอกไม้บูชาพระประธานในโบสถ์วัดระฆัง คลุกเคล้าผสมรวมกัน

แล้วหมอบหมายให้ พระอาจารย์พา วัดระฆัง เป็นผู้ดำเนินการกดพิมพ์สร้างพระทั้งหมด สำหรับแบบพิมพ์นั้น แยกออกเป็น 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก

หลวงปู่นาคปลุกเสกเดี่ยว ก่อนที่จะแจกแก่บรรดาทหารหาญ และประชาชนทั่วไป ในระหว่างสงครามอินโดจีน

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง: หลวงพ่อเงิน
เครดิตข้อมูล: พระเครื่องพลาซ่า

Daddy Yummy

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา พระเกจิอาจารย์ที่มีอายุยืนยาวที่สุดถึง 117 ปี ท่านครองวัดซึ่งอยู่โดดเดี่ยวภายในแวดวงของอิสลามมิกชน ขอบคุณภาพสวยๆจาก ทีนิวส์ หลวงปู่ทองเหรียญหน้าจมเป็นเหรียญที่แกะด้วยฝีมือเป็นเลิศ เหรียญหลวงปู่ทองรุ่นแรกนี้ สร้างในราว ปี พ.ศ.2480 ซึ่งเป็น พระเครื่อง เหรียญรูปหลวงปู่เหรียญเดียวเท่านั้นที่สร้างในขณะที่ท่านยังดำรงชีวิตอยู่นอกจากเหรียญรุ่นนี้แล้ว ปรากฏว่า มีสานุศิษย์ของหลวงปู่ทองได้สร้างขึ้นอีก 2-3 แบบ สำหรับพระเครื่องวัตถุมงคลเหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา รุ่น 1 ซึ่งท่านอาจารย์แก้ว คำวิบูลย์ เป็นผู้สร้างนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 พิมพ์ด้วยกัน พิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าลอย พิมพ์นี้ รูปท่านลายเด่นอยู่เหนือพื้นเหรียญ สำหรับอีกพิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าจม นั้น รูปหน้าท่านจมลงไปในพื้นเหรียญอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่แสดงเป็นเบ้าตา , แก้มที่ตอบและรูปปากของท่านด้วยเอกลักษณะของพิมพ์ดังกล่าวแล้ว นักสะสมพระเครื่องจึงแยกเป็น พิมพ์หน้าลอยและพิมพ์หน้าจมสำหรับรายละเอียดนั้นเหมือนกันทั้ง ๒ พิมพ์ ผิดแต่ขนาดของพิมพ์หน้าลอยเล็กกว่าพิมพ์หน้าจมเล็กน้อยเท่าน

เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รุ่นเสาร์ห้า หลวงพ่อนุ่ม

เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รุ่นเสาร์ห้า หลวงพ่อนุ่ม เครดิตภาพ wep-pra นับเป็นพระเครื่องวัตถุมงคลอีกประเภทหนึ่งของ หลวงพ่อนุ่ม ที่ได้รับความนิยมมากความจริงแล้วพระในรุ่นเสาร์ห้านี้ หลวงพ่อได้จัดสร้างขึ้นรวม 3 แบบด้วยกันคือ เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม , พิมพ์พระนางพญา และ พิมพ์พระปางสมาธิ แต่ที่นิยมกันมากที่สุดมีราคาแพงที่สุด ก็ได้แก่ เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รองลงมาก็คือ พิมพ์นางพญา และพิมพ์สมาธิ ตามลำดับ ในส่วนของ พระเครื่อง เหรียญหล่อสี่เหลี่ยมนั้น เป็นพระขนาดประมาณ 2.3-3.2 ซ.ม. ด้านหน้าเป็นรูปพระองค์พระปางสมาธิ ฐาน 3 ชั้น อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยม เหนือฐานชั้นบนมีกลีบบัวรองรับองค์พระอยู่รวม 6 กลีบ ส่วนด้านหลังเป็นยันต์ตรีนิสิงเห สำหรับพิมพ์นางพญาและพิมพ์สมาธิ องค์พระเป็นรูปสามเหลี่ยมปางมารวิชัย และปางสมาธิ ส่วนด้านหลังจะเรียบทั้ง 2 พิมพ์ ทั้ง 3 แบบพิมพ์พระเครื่องนี้ จัดสร้างขึ้นโดยการหล่อด้วยด้วยเนื้อทองเหลืองและด้วยการเป็นพระหล่อนี่เองทำให้พุทธลักษณะและเนื้อหาขององค์พระเครื่องประกอบกันเข้าแล้ว ดูสวยแปลกตาและมีเสน่ห์ไม่แพ้เหรียญหล่อหรือพระหล่อจากสำนักใดๆเลย ในด้านพุทธคุณไม่ถือเป็นรอง

พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด

พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา เครดิตภาพ: web pra พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด แบ่งออกเป็น 3 พิมพ์ ด้วยกัน คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พุทธลักษณะพระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด พุทธลักษณะคล้ายพระกริ่ง 79 สมเด็จพระสังฆราชแพ โดยเฉพาะ พิมพ์ใหญ่ ด้านหลังมีตัว อุ อยู่ตรงกลางฐาน หล่อด้วยเนื้อทองผสม บางองค์เนื้อจัดมาก ผิวแบบเนื้อสัมฤทธิ์ก็มี  บางองค์แก่ทองเหลือง บางองค์แก่ทองแดง ในพิธีการเททองหล่อพระกริ่ง บางหอย นี้ ได้จัดสร้าง พระรูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อจาด ด้วย แต่น้อยมาก นักสะสมพระเครื่องส่วนใหญ่ไม่รู้จักยกเว้นคนพื้นที่ พระรูปหล่อลอยองค์มี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานตอกชื่อ สวัสดิ์ ผ่องสกุล (สันนิษฐานว่าเป็นชื่อผู้สร้าง) , พิมพ์ฐานจาร(แต่บางคนองค์ไม่มี)พระกริ่ง บางหอย พิจารณาเล่นหาได้ง่าย และมีจำนวนพระเครื่องที่หมุนเวียนเปลี่ยนมือในวงการก็มีมากพอเพียง และที่สำคัญราคาเช่าหายังพอสู้กันไหว พระกริ่ง บางหอย พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ส่วนใหญ่ที่พบมักจะหล่องดงามมาแต่เดิม จึงไม่จำเป็นต้องแต่ง แต่ก็มีบ้างที่แต่งเซาะเนื้อรายละเอียดบางแห่ง อาทิ จีวรข้างแขน,บาตรน้ำมนต์ในองค์ที่หล่