ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เหรียญ หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ


หลวงพ่อสาคร เป็นทั้งพระนักปฏิบัติธรรมและเป็นพระนักพัฒนาสร้างความเจริญให้กับวัดหนองกรับเป็นอย่างมาก เป็นพระเกจิอาจารย์ผู้มีความรอบรู้ในวิทยาคม

หลวงพ่อสาคร เกิดในสกุล ไพสาลี เมื่อวันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ 2481 เกิดที่บ้านท้ายทุ่ง เลขที่ 6 ม.2 ต.หนองบัว อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีบรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดหนองกรับ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2501 โดยมีพระครูจันทโรทัย (หลวงพ่อดิ่ง) วัดบ้านค่าย เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า มนุญโญ มีความหมายว่า ผู้มีความไพบูลย์

พ.ศ.2503 หลวงพ่อสาคร ได้เริ่มจัดสร้างเหรียญและวัตถุมงคล เพื่อบูรณปฏิสังขรณ์วัดหนองกรับ ในการนี้วัตถุมงคลเหรียญรูปเหมือนของท่านหลายรุ่น ได้รับความนิยมอย่างสูง จวบจนปัจจุบัน ยังเป็นที่ต้องการของบรรดาคณะศิษยานุศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธา

ล่าสุด คณะกรรมการวัดหนองกรับ ได้จัดสร้างเหรียญวัตถุมงคล หลวงพ่อสาคร พร้อมพิมพ์หนังสือชีวประวัติ "หลวงพ่อในใจเรา" เมื่อปี พ.ศ.2552 ในโอกาสครบรอบคล้ายวันเกิด ครบรอบ 71 ปี หลวงพ่อสาคร มนุญโญ ซึ่งตรงกับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552

เหรียญดังกล่าว มีลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วงเชื่อม จัดทำเป็นเนื้อทองคำ เนื้อเงินลงยา เนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปหลวงพ่อสาครครึ่งองค์ หันหน้าตรง ตอกโค้ดหมายเลข "๑๗๙๖" เขียนว่า พระครูมนูญธรรมวัตร

ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเป็นยันต์ 5 หลวงปู่ทิม ที่หลวงพ่อสาครผู้สืบทอด ได้อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวประจุพลังพุทธาคม ขอบโค้งด้านบน เขียนคำว่า "หลวงพ่อสาคร มนุญโญ" ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า "วัดหนองกรับ ระยอง"

ภายหลังประกอบพิธีพุทธาภิเษก ได้มอบให้กับบรรดาญาติโยมและคณะศิษย์ได้เก็บไว้เป็นที่ระลึก เพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นเหรียญที่น่าเก็บสะสมอีกเหรียญ

เหรียญหลวงพ่อสาคร รุ่น พ.ศ.2552 ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ทำให้ในขณะนี้ จัดเป็นเหรียญที่ค่อนข้างหายากอีกเหรียญหนึ่งของเมืองระยอง ด้วยบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่อง ต่างหาเช่าเก็บไว้ในครอบครอง

"หลวงพ่อสาคร มนุญโญ" หรือ "พระครูมนูญธรรมวัตร" เจ้าอาวาสวัดหนองกรับ ต.หนองบัว อ.บ้านค่าย จ.ระยอง พระเกจิดังแห่งภาคตะวันออก

ท่านเป็นศิษย์เอกหลวงปู่ทิม อิสริโก บูรพาจารย์ผู้ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด

เล่ากันว่า ก่อนหลวงปู่ทิม มรณภาพ ท่านได้มอบสมุดข่อยโบราณที่เขียนถึงการสร้างพระ การเขียนยันต์ รูปยันต์ต่างๆ มอบให้แก่บุตรบุญธรรม คือ หลวงพ่อสาคร

ปัจจุบันสมุดข่อยนี้ ได้เก็บไว้ที่กุฏิ ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ยันต์ของวัดหนองกรับ

Daddy Yummy

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา พระเกจิอาจารย์ที่มีอายุยืนยาวที่สุดถึง 117 ปี ท่านครองวัดซึ่งอยู่โดดเดี่ยวภายในแวดวงของอิสลามมิกชน ขอบคุณภาพสวยๆจาก ทีนิวส์ หลวงปู่ทองเหรียญหน้าจมเป็นเหรียญที่แกะด้วยฝีมือเป็นเลิศ เหรียญหลวงปู่ทองรุ่นแรกนี้ สร้างในราว ปี พ.ศ.2480 ซึ่งเป็น พระเครื่อง เหรียญรูปหลวงปู่เหรียญเดียวเท่านั้นที่สร้างในขณะที่ท่านยังดำรงชีวิตอยู่นอกจากเหรียญรุ่นนี้แล้ว ปรากฏว่า มีสานุศิษย์ของหลวงปู่ทองได้สร้างขึ้นอีก 2-3 แบบ สำหรับพระเครื่องวัตถุมงคลเหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา รุ่น 1 ซึ่งท่านอาจารย์แก้ว คำวิบูลย์ เป็นผู้สร้างนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 พิมพ์ด้วยกัน พิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าลอย พิมพ์นี้ รูปท่านลายเด่นอยู่เหนือพื้นเหรียญ สำหรับอีกพิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าจม นั้น รูปหน้าท่านจมลงไปในพื้นเหรียญอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่แสดงเป็นเบ้าตา , แก้มที่ตอบและรูปปากของท่านด้วยเอกลักษณะของพิมพ์ดังกล่าวแล้ว นักสะสมพระเครื่องจึงแยกเป็น พิมพ์หน้าลอยและพิมพ์หน้าจมสำหรับรายละเอียดนั้นเหมือนกันทั้ง ๒ พิมพ์ ผิดแต่ขนาดของพิมพ์หน้าลอยเล็กกว่าพิมพ์หน้าจมเล็กน้อยเท่าน

เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รุ่นเสาร์ห้า หลวงพ่อนุ่ม

เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รุ่นเสาร์ห้า หลวงพ่อนุ่ม เครดิตภาพ wep-pra นับเป็นพระเครื่องวัตถุมงคลอีกประเภทหนึ่งของ หลวงพ่อนุ่ม ที่ได้รับความนิยมมากความจริงแล้วพระในรุ่นเสาร์ห้านี้ หลวงพ่อได้จัดสร้างขึ้นรวม 3 แบบด้วยกันคือ เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม , พิมพ์พระนางพญา และ พิมพ์พระปางสมาธิ แต่ที่นิยมกันมากที่สุดมีราคาแพงที่สุด ก็ได้แก่ เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รองลงมาก็คือ พิมพ์นางพญา และพิมพ์สมาธิ ตามลำดับ ในส่วนของ พระเครื่อง เหรียญหล่อสี่เหลี่ยมนั้น เป็นพระขนาดประมาณ 2.3-3.2 ซ.ม. ด้านหน้าเป็นรูปพระองค์พระปางสมาธิ ฐาน 3 ชั้น อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยม เหนือฐานชั้นบนมีกลีบบัวรองรับองค์พระอยู่รวม 6 กลีบ ส่วนด้านหลังเป็นยันต์ตรีนิสิงเห สำหรับพิมพ์นางพญาและพิมพ์สมาธิ องค์พระเป็นรูปสามเหลี่ยมปางมารวิชัย และปางสมาธิ ส่วนด้านหลังจะเรียบทั้ง 2 พิมพ์ ทั้ง 3 แบบพิมพ์พระเครื่องนี้ จัดสร้างขึ้นโดยการหล่อด้วยด้วยเนื้อทองเหลืองและด้วยการเป็นพระหล่อนี่เองทำให้พุทธลักษณะและเนื้อหาขององค์พระเครื่องประกอบกันเข้าแล้ว ดูสวยแปลกตาและมีเสน่ห์ไม่แพ้เหรียญหล่อหรือพระหล่อจากสำนักใดๆเลย ในด้านพุทธคุณไม่ถือเป็นรอง

พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด

พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา เครดิตภาพ: web pra พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด แบ่งออกเป็น 3 พิมพ์ ด้วยกัน คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พุทธลักษณะพระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด พุทธลักษณะคล้ายพระกริ่ง 79 สมเด็จพระสังฆราชแพ โดยเฉพาะ พิมพ์ใหญ่ ด้านหลังมีตัว อุ อยู่ตรงกลางฐาน หล่อด้วยเนื้อทองผสม บางองค์เนื้อจัดมาก ผิวแบบเนื้อสัมฤทธิ์ก็มี  บางองค์แก่ทองเหลือง บางองค์แก่ทองแดง ในพิธีการเททองหล่อพระกริ่ง บางหอย นี้ ได้จัดสร้าง พระรูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อจาด ด้วย แต่น้อยมาก นักสะสมพระเครื่องส่วนใหญ่ไม่รู้จักยกเว้นคนพื้นที่ พระรูปหล่อลอยองค์มี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานตอกชื่อ สวัสดิ์ ผ่องสกุล (สันนิษฐานว่าเป็นชื่อผู้สร้าง) , พิมพ์ฐานจาร(แต่บางคนองค์ไม่มี)พระกริ่ง บางหอย พิจารณาเล่นหาได้ง่าย และมีจำนวนพระเครื่องที่หมุนเวียนเปลี่ยนมือในวงการก็มีมากพอเพียง และที่สำคัญราคาเช่าหายังพอสู้กันไหว พระกริ่ง บางหอย พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ส่วนใหญ่ที่พบมักจะหล่องดงามมาแต่เดิม จึงไม่จำเป็นต้องแต่ง แต่ก็มีบ้างที่แต่งเซาะเนื้อรายละเอียดบางแห่ง อาทิ จีวรข้างแขน,บาตรน้ำมนต์ในองค์ที่หล่