ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เหรียญพระเครื่องยอดนิยม หลวงพ่อคง รุ่นแรก 2484


เหรียญพระเครื่องยอดนิยม หลวงพ่อคง รุ่นแรก 2484
เหรียญหลวงพ่อคง รุ่นแรก สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2484 เป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบหูเชื่อม ปั๊มด้วยโลหะทองแดงผสมทองเหลืองรมดำส่วนผู้ดำเนินการจัดสร้างคือ พ.อ.พระยาศรีสุรสงคราม(เปรื่อง ดิลกโยธิน)โดยขออนุญาตอย่างเป็นทางการ เนื่องในวาระที่หลวงพ่อคงมี อายุครบ 77 ปี
ในชั้นแรกหลวงพ่อคงได้ปรารภว่า “ฉันไม่ใช่ผู้วิเศษจะสร้างรูปตัวเองไปแจกดูกระไรอยู่” พ.อ.พระยาศรีสุรสงครามจึงอธิบายถึงจุดประสงค์ว่า เป็นการสร้างเพื่อบูชาพระคุณหลวงพ่อ ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์
ท่านจึงอนุญาต แต่ให้ระบุข้อความที่เหรียญพระเครื่องให้ชัดเจนว่า “ศิษย์สร้างบูชาพระคุณของหลวงพ่อ”และ ลาภ ผล พูน ทวี”
ก่อนที่จะดำเนินการปั๊มเหรียญ พ.อ. ศรีสุรสงคราม ได้นำชนวนหล่อพระในงานพิธีครั้งสำคัญๆ มาหลอมและรีดเป็นแผ่น และขอความเมตตาจากหลวงพ่อลงอักขระยันต์แผ่นทองเหลือง แล้วส่งไปยังร้านอัมราภรณ์ตึกดินว่าจ้างปั๊มเหรียญจำนวนทั้งหมด 3 พันเหรียญในอัตราค่าจ้างปั๊มเหรียญละ 14 สตางค์ โดยกำชับให้ทางร้านนำแผ่นโลหะทองเหลืองหล่อหลอมกับทองแดงรีดเป็นแผ่นทำการปั๊ม
ด้วยเหตุนี้พระเครื่องเหรียญหลวงพ่อคงรุ่นแรกจึงไม่ใช่เนื้อทองแดงบรุสุทธิ์ล้วนๆ สังเกตได้จาก “เหรียญสึก”จะเห็นว่า ผิวโลหะออกสีเหลืองไม่แดงเข้มแบบทองแดง
เมื่อแล้วเสร็จ พ.อ.พระยาศรีสงคราม ได้กราบเรียนต่อหลวงพ่อคงว่า หากใครมาเช่าบูชาเหรียญ ให้คิดเหรียญละ 5 บาทโดยถวายเข้าวัดหลวงพ่อ 2 บาท ส่วนอีก 3 บาท เป็นต้นทุนในการจัดสร้างเหรียญ
หลวงพ่อคงเห็นดังนั้นจึงเก็บใส่บาตรทิ้งไว้จนกระทั้งมรณภาพลง โดยไม่ได้จำหน่ายเหรียญไปเลย ด้วยเกรงว่าชาวบ้านจะครหาว่าท่าน เอาเหรียญมาขายกิน
ต่อมา พ.อ.พระยาศรีสุรสงคราม จึงได้นำเหรียญทั้งหมดถวายแก่ หลวงพ่อแช่ม วัดจุฬามณี ก่อนตกทอดมาสู่ หลวองพ่อเนื่อง ซึ่งท่านได้นำออกแจกจ่ายจนหมดสิ้น
เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้อง: บทความพระเครื่อง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อเงิน บางคลาน จอบใหญ่

เหรียญ จอบใหญ่ หลวงพ่อเงิน มีจุดตำหนิแห่งหนึ่ง ซึ่งนักเล่นจะให้สำคัญหรือเน้นการพิจารณามาก เพราะจะปรากฎพบทุกองค์นั้นจะสึกลบเลือนไปมากก็ยังเห็นอยู่ คือเส้นขอบเหรียญด้านล่างโย้ขึ้นไปจรดใต้ขาซ้ายแลดูคล้ายกับเส้นบล็อกแตกเป็นทางจากซุ้มไปจรดขา นอกจากนี้ก็ยังมีอีกตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งนักเล่นเก่งๆพยายามปกปิด หากสวยสมบูรณ์จะเห็น “เนื้อล้น”ที่ข้างหูด้านขวา หรือเหนือหัวไหล่ขวาเป็นสันนูนออกมาเล็กน้อยคล้าย “รอยพับ” อีกทั้งห่วงหูขวาจะปรากฏ “เม็ดไข่ปลา”และเส้นซุ้มแบบเดียวกับด้านข้างองค์พระ โดยมักจะสึกลบเลือน เนื่องเพราะเป็นจุดนูนเหรือบริเวณสัมผัส และความหนาของห่วงระดับใกล้เคียงกับ”ซุ้มข้างองค์พระ” ปัจจุบันเหรียญ “จอบใหญ่” หลวงพ่อเงิน ของแท้แน่นอนหายากมากๆ ส่วนของปลอมเลียนแบบฝีมือยังห่างไกล

สืบสานตำนาน "ทหารผี" สู่ "พระกริ่งบางหอย" สุดยอดมหาอุด คงกระพัน โดยหลวงพ่อจาด

เปิดกรุ "พระกริ่งบางหอย" มรดกหลวงพ่อจาด ที่นักสะสมต้องมี ราคาจับต้องได้ เครดิตภาพ: web pra พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด แบ่งออกเป็น 3 พิมพ์ ด้วยกัน คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พุทธลักษณะพระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด พุทธลักษณะคล้ายพระกริ่ง 79 สมเด็จพระสังฆราชแพ โดยเฉพาะ พิมพ์ใหญ่ ด้านหลังมีตัว อุ อยู่ตรงกลางฐาน หล่อด้วยเนื้อทองผสม บางองค์เนื้อจัดมาก ผิวแบบเนื้อสัมฤทธิ์ก็มี  บางองค์แก่ทองเหลือง บางองค์แก่ทองแดง ในพิธีการเททองหล่อพระกริ่ง บางหอย นี้ ได้จัดสร้าง พระรูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อจาด ด้วย แต่น้อยมาก  นักสะสมพระเครื่องส่วนใหญ่ไม่รู้จักยกเว้นคนพื้นที่ พระรูปหล่อลอยองค์มี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานตอกชื่อ สวัสดิ์ ผ่องสกุล (สันนิษฐานว่าเป็นชื่อผู้สร้าง) , พิมพ์ฐานจาร(แต่บางคนองค์ไม่มี)พระกริ่ง บางหอย พิจารณาเล่นหาได้ง่าย และมีจำนวนพระเครื่องที่หมุนเวียนเปลี่ยนมือในวงการก็มีมากพอเพียง และที่สำคัญราคาเช่าหายังพอสู้กันไหว พระกริ่ง บางหอย พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ส่วนใหญ่ที่พบมักจะหล่องดงามมาแต่เดิม จึงไม่จำเป็นต้องแต่ง แต่ก็มีบ้างที่แต่งเซาะเนื้อรายละเอียดบางแห่ง...

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา พระเกจิอาจารย์ที่มีอายุยืนยาวที่สุดถึง 117 ปี ท่านครองวัดซึ่งอยู่โดดเดี่ยวภายในแวดวงของอิสลามมิกชน ขอบคุณภาพสวยๆจาก ทีนิวส์ หลวงปู่ทองเหรียญหน้าจมเป็นเหรียญที่แกะด้วยฝีมือเป็นเลิศ เหรียญหลวงปู่ทองรุ่นแรกนี้ สร้างในราว ปี พ.ศ.2480 ซึ่งเป็น พระเครื่อง เหรียญรูปหลวงปู่เหรียญเดียวเท่านั้นที่สร้างในขณะที่ท่านยังดำรงชีวิตอยู่นอกจากเหรียญรุ่นนี้แล้ว ปรากฏว่า มีสานุศิษย์ของหลวงปู่ทองได้สร้างขึ้นอีก 2-3 แบบ สำหรับพระเครื่องวัตถุมงคลเหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา รุ่น 1 ซึ่งท่านอาจารย์แก้ว คำวิบูลย์ เป็นผู้สร้างนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 พิมพ์ด้วยกัน พิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าลอย พิมพ์นี้ รูปท่านลายเด่นอยู่เหนือพื้นเหรียญ สำหรับอีกพิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าจม นั้น รูปหน้าท่านจมลงไปในพื้นเหรียญอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่แสดงเป็นเบ้าตา , แก้มที่ตอบและรูปปากของท่านด้วยเอกลักษณะของพิมพ์ดังกล่าวแล้ว นักสะสมพระเครื่องจึงแยกเป็น พิมพ์หน้าลอยและพิมพ์หน้าจมสำหรับรายละเอียดนั้นเหมือนกันทั้ง ๒ พิมพ์ ผิดแต่ขนาดของพิมพ์หน้าลอยเล็กกว่าพิมพ์หน้าจมเล็กน้อยเท่าน...