ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระเครื่อง วัดสุทัศน์ พระกริ่งพุทธนิมิต


พระกริ่พุทธนิมิต พระนามนี้สมเด็จพระสังฆราชแพ ทรงถวายพระนามให้ เนื่องจากวันหนึ่งก่อนที่จะถึงวัดทำบุญฉลองพระชนมายุประมาณ 7 วัน พระครูวินัยกรณ์โสภณหรือพระครูหนู ได้ขึ้นไปเฝ้าเสด็จ เวลาประมาณ 6 โมงเย็น
สมเด็จทรงรับสั่งว่า “หนู ปีนี้ไม่หล่อพระนะ ทำบุญเลี้ยงพระธรรมดาก็แล้วกัน”พระครูหนูรับสั่งแล้วก็ทูลลากลับไป
ครั้นเช้าวันรุ่งขึ้น ประมาณ 3 โมง สมเด็จได้ให้สามเณรมาตามพระครูหนูให้เข้าเฝ้า และทรงรับสั่งว่า “หนู ถ้าจะต้องหล่อพระเสียแล้ว เมื่อคืนตอนค่อนรุ่งฉันฝันไปว่า ได้ไปที่วัดร้างเก่าๆ แบบโบราณ พบพระพุทธรูปยืนองค์หนึ่ง มีสองปาง ปางที่หนึ่งยืนแบบห้ามสมุทร ปางที่สองยืนรำพึงฉันได้นมัสการพระพุทธรูปสองปางนั้นแล้วตื่นขึ้น จึงมารำลึกว่าเราเคยหล่อพระทุกปีทำไมปีนี้จึงไม่หล่อ คล้ายกับเขามาเตือนให้เราหล่อพระ
หลังจากนั้น พระองค์จึงค้นดุพระในครอบน้ำมนต์สัมฤทธิ์ ที่ใส่พระกริ่งเป็นประจำ ก็พบพระยืนเนื้อชินเก่าสูง 6 ซม.เป็นศิลปสมัยลพบุรี พุทธลักษณะคล้ายกับพระพุทธรูปองค์ที่เห็นในพระสุบิน จากนั้นจึงรับสั่งให้ไปตามช่างปั้นมาปั้นพระพุทธรูปยืน สูง 1 คืบ สำหรับพระองค์ และให้หล่อพระกริ่ง 30 องค์
โดยใช้พิมพ์ของ พระกริ่งรุ่นฉลองสุพรรณบัฎ พร้อมกับกำชับให้ช่างรีบดำเนินการให้ทันหล่อในกลางเดือน 12 ปี พ.ศ.2484
ด้วยเหตุนี้เอง พุทธลักษณะพระกริ่งรุ่นนี้จึงเหมือนกับพระกริ่งฉลองสุพรรณบัฎ ปี 83 แตกต่างกันที่ด้านหลังคือ ด้านหลังพระกริ่งพุทธนิมิต จะมีโค๊ต “สลักฉัตร 3 ชั้น” ไว้เป็นเครื่องหมาย
พระกริ่งรุ่นนี้หล่อด้วยเนื้อสัมฤทธิ์วรรณะเหลืองอมแดง ผิวสีน้ำตาลอมแดง

เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้อง:พระเครื่อง
เครดิตข้อมูล:พระเครื่องพลาซ่า

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อเงิน บางคลาน จอบใหญ่

เหรียญ จอบใหญ่ หลวงพ่อเงิน มีจุดตำหนิแห่งหนึ่ง ซึ่งนักเล่นจะให้สำคัญหรือเน้นการพิจารณามาก เพราะจะปรากฎพบทุกองค์นั้นจะสึกลบเลือนไปมากก็ยังเห็นอยู่ คือเส้นขอบเหรียญด้านล่างโย้ขึ้นไปจรดใต้ขาซ้ายแลดูคล้ายกับเส้นบล็อกแตกเป็นทางจากซุ้มไปจรดขา นอกจากนี้ก็ยังมีอีกตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งนักเล่นเก่งๆพยายามปกปิด หากสวยสมบูรณ์จะเห็น “เนื้อล้น”ที่ข้างหูด้านขวา หรือเหนือหัวไหล่ขวาเป็นสันนูนออกมาเล็กน้อยคล้าย “รอยพับ” อีกทั้งห่วงหูขวาจะปรากฏ “เม็ดไข่ปลา”และเส้นซุ้มแบบเดียวกับด้านข้างองค์พระ โดยมักจะสึกลบเลือน เนื่องเพราะเป็นจุดนูนเหรือบริเวณสัมผัส และความหนาของห่วงระดับใกล้เคียงกับ”ซุ้มข้างองค์พระ” ปัจจุบันเหรียญ “จอบใหญ่” หลวงพ่อเงิน ของแท้แน่นอนหายากมากๆ ส่วนของปลอมเลียนแบบฝีมือยังห่างไกล

สืบสานตำนาน "ทหารผี" สู่ "พระกริ่งบางหอย" สุดยอดมหาอุด คงกระพัน โดยหลวงพ่อจาด

เปิดกรุ "พระกริ่งบางหอย" มรดกหลวงพ่อจาด ที่นักสะสมต้องมี ราคาจับต้องได้ เครดิตภาพ: web pra พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด แบ่งออกเป็น 3 พิมพ์ ด้วยกัน คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พุทธลักษณะพระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด พุทธลักษณะคล้ายพระกริ่ง 79 สมเด็จพระสังฆราชแพ โดยเฉพาะ พิมพ์ใหญ่ ด้านหลังมีตัว อุ อยู่ตรงกลางฐาน หล่อด้วยเนื้อทองผสม บางองค์เนื้อจัดมาก ผิวแบบเนื้อสัมฤทธิ์ก็มี  บางองค์แก่ทองเหลือง บางองค์แก่ทองแดง ในพิธีการเททองหล่อพระกริ่ง บางหอย นี้ ได้จัดสร้าง พระรูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อจาด ด้วย แต่น้อยมาก  นักสะสมพระเครื่องส่วนใหญ่ไม่รู้จักยกเว้นคนพื้นที่ พระรูปหล่อลอยองค์มี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานตอกชื่อ สวัสดิ์ ผ่องสกุล (สันนิษฐานว่าเป็นชื่อผู้สร้าง) , พิมพ์ฐานจาร(แต่บางคนองค์ไม่มี)พระกริ่ง บางหอย พิจารณาเล่นหาได้ง่าย และมีจำนวนพระเครื่องที่หมุนเวียนเปลี่ยนมือในวงการก็มีมากพอเพียง และที่สำคัญราคาเช่าหายังพอสู้กันไหว พระกริ่ง บางหอย พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ส่วนใหญ่ที่พบมักจะหล่องดงามมาแต่เดิม จึงไม่จำเป็นต้องแต่ง แต่ก็มีบ้างที่แต่งเซาะเนื้อรายละเอียดบางแห่ง...

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา พระเกจิอาจารย์ที่มีอายุยืนยาวที่สุดถึง 117 ปี ท่านครองวัดซึ่งอยู่โดดเดี่ยวภายในแวดวงของอิสลามมิกชน ขอบคุณภาพสวยๆจาก ทีนิวส์ หลวงปู่ทองเหรียญหน้าจมเป็นเหรียญที่แกะด้วยฝีมือเป็นเลิศ เหรียญหลวงปู่ทองรุ่นแรกนี้ สร้างในราว ปี พ.ศ.2480 ซึ่งเป็น พระเครื่อง เหรียญรูปหลวงปู่เหรียญเดียวเท่านั้นที่สร้างในขณะที่ท่านยังดำรงชีวิตอยู่นอกจากเหรียญรุ่นนี้แล้ว ปรากฏว่า มีสานุศิษย์ของหลวงปู่ทองได้สร้างขึ้นอีก 2-3 แบบ สำหรับพระเครื่องวัตถุมงคลเหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา รุ่น 1 ซึ่งท่านอาจารย์แก้ว คำวิบูลย์ เป็นผู้สร้างนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 พิมพ์ด้วยกัน พิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าลอย พิมพ์นี้ รูปท่านลายเด่นอยู่เหนือพื้นเหรียญ สำหรับอีกพิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าจม นั้น รูปหน้าท่านจมลงไปในพื้นเหรียญอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่แสดงเป็นเบ้าตา , แก้มที่ตอบและรูปปากของท่านด้วยเอกลักษณะของพิมพ์ดังกล่าวแล้ว นักสะสมพระเครื่องจึงแยกเป็น พิมพ์หน้าลอยและพิมพ์หน้าจมสำหรับรายละเอียดนั้นเหมือนกันทั้ง ๒ พิมพ์ ผิดแต่ขนาดของพิมพ์หน้าลอยเล็กกว่าพิมพ์หน้าจมเล็กน้อยเท่าน...