ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ รุ่นหลังเตารีด


พระหลวงพ่อทวด
วัดช้างให้ รุ่นหลังเตารีด

ในปี พ.ศ.2505 ทางวัดช้างให้ปัตตานี ได้ประกอบพิธีใหญ่โตครั้งสำคัญ สร้างวัตถุมงคลหลวงพ่อทวดขึ้นหลายอย่าง ซึ่งมีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร เป็นผู้อุปถัมภ์ตลอดรายการประกอบพิธีปลุกเสก วันที่ 19 พ.ค. 2505 มีวัตถุมงคลหลายอย่างเข้าร่วมพิธี ดังนี้

1.รูปหล่อหลวงพ่อทวดชนิด บูชา

2.พระหลวงพ่อทวดเนื้อโลหะผสม(หลังเตารีด)มี 3 ขนาด คือ พิมพ์ใหญ่,พิมพ์กลาง,พิมพ์เล็ก

3.พระหลวงพ่อทวด เนื้อเมฆพัตร(หลังเตารีด) มีพิมพ์ใหญ่ขนาดเดียว

4.พระหลวงพ่อทวด เนื้อทองเหลือง ปั๊มรมดำ ด้านหลังมีตัวหนังสือ มี 2 ขนาด คือ ขนาดใหญ่กับเล็ก

5.รูปหล่อหลวงพ่อทวด เนื้อโลหะผสม มีเลขใต้ฐาน มีขนาดเดียว สร้างไว้ จำนวน 999 องค์

6.เหรียญรูปทรงน้ำเต้า เนื้อทองแดงรมดำ ด้านหลังมีตัวหนังสือขอม มี ขนาดเดียว แต่แยกเป็น 2 บล็อก

7.แหวนหลวงพ่อทวด เนื้อทองเหลืองขาว บางคนเรียกเนื้ออัลปาก้า

8.พระหลวงพ่อทวด เนื้อว่านรุ่นพิเศษ จำนวนประมาณ 2,000 องค์ เตรียมไว้สำหรับบรรจุในเจดีย์ใหญ่ ต่อมากลายเป็น “รุ่นพินัยกรรรม”

ประวัติการสร้าง พระหลวงพ่อทวด เนื้อโลหะ

เมื่อ 50 กว่าปีที่ผ่านมา บรรดาช่างฝีมือดี ที่ยอย่องและนิยมรู้จักกันทั่วไป เช่น ช่างแกะสลักฝีมือเยี่ยมต้อง อ.จำเนียร อยู่หน้าวัดมหรรณพ์ ช่างหล่อหลอมพระกริ่ง พระบูชา หรือรูปหล่อ ก็ต้องยกให้ อ.สวัสดิ์ เดชพ่วง บ้านอยู่ใกล้ที่แยกหลานหลวง เขตป้อมปรามฯถ้าเกี่ยวกับเรื่องปั๊มต้องยกให้ อ.สนั่น ศรีผลิน เจ้าของ ร้านโชคชัย หน้าวัดสุทัศน์ฯ

จากหลักฐานในหนังสือของวัดช้างให้ ที่พิมพ์แจกบรรณาการในพระราชพิธียกฉัตรทองยอดเจดีย์ วัดราษฎร์บูรณะ(วัดช้างให้)เมื่อวันที่ 29 ส.ค.2520 ในห้วข้อเรื่องการสร้างเหรียญหลวงพ่อทวด และพระเนื้อโลหะในหน้า 22-23 กล่าวถึง พระเนื้อกลับและพระเนื้อเมฆพัตร ซึ่งนิยมเรียกว่า “หลังเตารีด” พระครูวิสัยโสภณสร้างเมื่อปี พ.ศ.2505 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร เป็นองค์อุปถัมภ์ ได้ประกอบพิธีใหญ่ พร้อมกับการปลุกเสกเนื้อโลหะรุ่นแรก และเป็นครั้งแรกในการสร้างพระด้วยเนื้อโลหะ

จากหลักฐานที่บ่งบอกข้างต้นทำให้เรารู้ว่า วัดช้างให้เพิ่งจะมีการสร้างพระเครื่องด้วยเนื้อโลหะรูปหลวงพ่อทวดเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2505 นี่เอง เหนือจาก พ.ศ.2505 ขึ้นไป มีแต่สร้างเหรียญบ้าง เนื้อว่านบ้างและรูปหล่อพระบูชา ซึ่งเทกันทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2505เป็นต้นมา

สรุปเรื่อง ไม่ได้มีการหล่อหลอม หรือเทพระเนื้อโลหะกันขึ้นที่วัดช้างให้เลย เพียงแต่ได้มีการประกอบพิธิปลุกเสกเนื้อโลหะ และการลงแผ่นทองที่เรียกว่า “ชนวน”เพื่อที่จะนำเอาไปหล่อหลอมรวมกับเนื้อโลหะส่วนใหญ่ แล้วเทพระออกมา

พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร ท่านนำเนื้อโลหะและแผ่นทองที่ได้ผ่านพิธีปลุกเสกอย่างดีแล้วจากวัดช้างให้ เข้ามากรุงเทพฯนำมาเก็บไว้ที่วังท่าน แล้วพระองค์ท่านไปติดต่อ อ.สวัสดิ์ เดชพ่วง ซึ่งเป็นคนชอบพอกัน และทรงให้หล่อพระหลวงพ่อทวด เนื้อโลหะ หลังเตารีด 3 ขนาด โดยให้หล่อพระเนื้อเมฆพัตรก่อน ส่วนแม่พิมพ์นั้นให้ช่างจำเนียรแกะ

เครดิตข้อมูล: พระเครื่องพลาซ่า

รูปประกอบ:thaipra

Daddy Yummy

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา พระเกจิอาจารย์ที่มีอายุยืนยาวที่สุดถึง 117 ปี ท่านครองวัดซึ่งอยู่โดดเดี่ยวภายในแวดวงของอิสลามมิกชน ขอบคุณภาพสวยๆจาก ทีนิวส์ หลวงปู่ทองเหรียญหน้าจมเป็นเหรียญที่แกะด้วยฝีมือเป็นเลิศ เหรียญหลวงปู่ทองรุ่นแรกนี้ สร้างในราว ปี พ.ศ.2480 ซึ่งเป็น พระเครื่อง เหรียญรูปหลวงปู่เหรียญเดียวเท่านั้นที่สร้างในขณะที่ท่านยังดำรงชีวิตอยู่นอกจากเหรียญรุ่นนี้แล้ว ปรากฏว่า มีสานุศิษย์ของหลวงปู่ทองได้สร้างขึ้นอีก 2-3 แบบ สำหรับพระเครื่องวัตถุมงคลเหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา รุ่น 1 ซึ่งท่านอาจารย์แก้ว คำวิบูลย์ เป็นผู้สร้างนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 พิมพ์ด้วยกัน พิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าลอย พิมพ์นี้ รูปท่านลายเด่นอยู่เหนือพื้นเหรียญ สำหรับอีกพิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าจม นั้น รูปหน้าท่านจมลงไปในพื้นเหรียญอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่แสดงเป็นเบ้าตา , แก้มที่ตอบและรูปปากของท่านด้วยเอกลักษณะของพิมพ์ดังกล่าวแล้ว นักสะสมพระเครื่องจึงแยกเป็น พิมพ์หน้าลอยและพิมพ์หน้าจมสำหรับรายละเอียดนั้นเหมือนกันทั้ง ๒ พิมพ์ ผิดแต่ขนาดของพิมพ์หน้าลอยเล็กกว่าพิมพ์หน้าจมเล็กน้อยเท่าน

เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รุ่นเสาร์ห้า หลวงพ่อนุ่ม

เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รุ่นเสาร์ห้า หลวงพ่อนุ่ม เครดิตภาพ wep-pra นับเป็นพระเครื่องวัตถุมงคลอีกประเภทหนึ่งของ หลวงพ่อนุ่ม ที่ได้รับความนิยมมากความจริงแล้วพระในรุ่นเสาร์ห้านี้ หลวงพ่อได้จัดสร้างขึ้นรวม 3 แบบด้วยกันคือ เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม , พิมพ์พระนางพญา และ พิมพ์พระปางสมาธิ แต่ที่นิยมกันมากที่สุดมีราคาแพงที่สุด ก็ได้แก่ เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รองลงมาก็คือ พิมพ์นางพญา และพิมพ์สมาธิ ตามลำดับ ในส่วนของ พระเครื่อง เหรียญหล่อสี่เหลี่ยมนั้น เป็นพระขนาดประมาณ 2.3-3.2 ซ.ม. ด้านหน้าเป็นรูปพระองค์พระปางสมาธิ ฐาน 3 ชั้น อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยม เหนือฐานชั้นบนมีกลีบบัวรองรับองค์พระอยู่รวม 6 กลีบ ส่วนด้านหลังเป็นยันต์ตรีนิสิงเห สำหรับพิมพ์นางพญาและพิมพ์สมาธิ องค์พระเป็นรูปสามเหลี่ยมปางมารวิชัย และปางสมาธิ ส่วนด้านหลังจะเรียบทั้ง 2 พิมพ์ ทั้ง 3 แบบพิมพ์พระเครื่องนี้ จัดสร้างขึ้นโดยการหล่อด้วยด้วยเนื้อทองเหลืองและด้วยการเป็นพระหล่อนี่เองทำให้พุทธลักษณะและเนื้อหาขององค์พระเครื่องประกอบกันเข้าแล้ว ดูสวยแปลกตาและมีเสน่ห์ไม่แพ้เหรียญหล่อหรือพระหล่อจากสำนักใดๆเลย ในด้านพุทธคุณไม่ถือเป็นรอง

พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด

พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา เครดิตภาพ: web pra พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด แบ่งออกเป็น 3 พิมพ์ ด้วยกัน คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พุทธลักษณะพระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด พุทธลักษณะคล้ายพระกริ่ง 79 สมเด็จพระสังฆราชแพ โดยเฉพาะ พิมพ์ใหญ่ ด้านหลังมีตัว อุ อยู่ตรงกลางฐาน หล่อด้วยเนื้อทองผสม บางองค์เนื้อจัดมาก ผิวแบบเนื้อสัมฤทธิ์ก็มี  บางองค์แก่ทองเหลือง บางองค์แก่ทองแดง ในพิธีการเททองหล่อพระกริ่ง บางหอย นี้ ได้จัดสร้าง พระรูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อจาด ด้วย แต่น้อยมาก นักสะสมพระเครื่องส่วนใหญ่ไม่รู้จักยกเว้นคนพื้นที่ พระรูปหล่อลอยองค์มี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานตอกชื่อ สวัสดิ์ ผ่องสกุล (สันนิษฐานว่าเป็นชื่อผู้สร้าง) , พิมพ์ฐานจาร(แต่บางคนองค์ไม่มี)พระกริ่ง บางหอย พิจารณาเล่นหาได้ง่าย และมีจำนวนพระเครื่องที่หมุนเวียนเปลี่ยนมือในวงการก็มีมากพอเพียง และที่สำคัญราคาเช่าหายังพอสู้กันไหว พระกริ่ง บางหอย พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ส่วนใหญ่ที่พบมักจะหล่องดงามมาแต่เดิม จึงไม่จำเป็นต้องแต่ง แต่ก็มีบ้างที่แต่งเซาะเนื้อรายละเอียดบางแห่ง อาทิ จีวรข้างแขน,บาตรน้ำมนต์ในองค์ที่หล่