ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน



อัตโนประวัติ ท่านเป็นหลานแท้ๆ ของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เมื่ออายุ 12 ปีได้เข้าพิธีบรรพชา ณ วัดแจ้ง บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่านเอง

ท่านได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์นานถึง 12 ปี ตั้งแต่ครั้งสมัยเป็นสามเณร เช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ซึ่งเป็นหลวงอาได้นำท่านมาอยู่ด้วย และโดยเฉพาะกับพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ศิษย์สายธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในช่วงที่เป็นสามเณรอยู่กับพระอาจารย์อ่อนเคยไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) บ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เป็นประจำ โดยมีพระอาจารย์อ่อนนำพาไป

สาเหตุที่ได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้พระอาจารย์อ่อน ด้วยพระอาจารย์อ่อนเดินธุดงค์มาพำนักหาความสงบวิเวกอยู่ที่บริเวณป่าช้าบ้านหนองโดก (ปัจจุบันคือวัดป่าโสตถิผล หรือวัดป่าบ้านหนองโดก) ตอนนั้นได้บรรพชาเป็นสามเณร แต่เป็นฝ่ายมหานิกาย พักอยู่วัดแจ้ง บ้านหนองโดก เป็นวัดบ้านของท่านเอง และไม่ไกลจากป่าช้าที่พระอาจารย์อ่อนไปพักอยู่นั้นมากนัก

ท่านบอกว่า ตอนที่ไปกราบนมัสการพระอาจารย์มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ครั้งแรกไปกับพระอาจารย์อ่อน พร้อมกับสามเณรอีกรูปหนึ่งและญาติโยม 4-5 คน เดินมุ่งหน้าสู่เทือกเขาภูพานที่อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านหนองโดก

ก่อนเดินทางถึงวัดป่าบ้านหนองผือ เวลาประมาณบ่าย 3 โมง พอเข้าไปภายในบริเวณวัด รู้สึกว่าภายในวัดร่มรื่นสงบเงียบ เหมือนกับไม่มีพระเณรทำให้ตื่นตาตื่นใจเป็นครั้งแรก เห็นพระเณรกำลังทำกิจวัตรกวาดลานวัดด้วยไม้ตาด ส่วนพระอาจารย์อ่อน พร้อมคณะ เข้าไปกราบนมัสการพระอาจารย์มั่นบนกุฏิ เสร็จแล้วก็กลับที่พัก ปัดกวาดลานวัด ตักน้ำใช้น้ำฉันจากบ่อน้ำ

เสร็จจากนั้นก็เตรียมรอสรงน้ำพระอาจารย์มั่นบริเวณหน้ากุฏิ ซึ่งมีพระเตรียมน้ำสรงไว้โดยใช้น้ำร้อนผสมพอให้อุ่น เมื่อพระอาจารย์มั่นเข้ามานั่งบนตั่งแล้ว คราวนี้พระเณรทั้งหลายห้อมล้อม เพื่อเข้าไปถูหลังขัดไคลถวายอย่างเปี่ยมล้นด้วยศรัทธา

ส่วนสามเณรบุญหนา มีโอกาสเข้าไปร่วมสรงน้ำท่านพระอาจารย์มั่นในครั้งนี้ด้วย

เมื่อพระอาจารย์มั่นเห็นท่านซึ่งเป็นสามเณรมาใหม่ พระอาจารย์มั่นจึงพูดสำเนียงอีสานขึ้นว่า "เณรมาแต่ไส..." แต่สามเณรบุญหนาไม่ทันตอบ มีพระอาจารย์ทองคำตอบแทนว่า "เณรมากับครูบาอ่อน ข้าน้อย" จากนั้นท่านไม่ได้ว่าอะไรต่อไป จนเสร็จจากการสรงน้ำท่านในวันนั้น

หลวงปู่บุญหนาได้มาพำนักจำพรรษาอยู่ ณ วัดป่าโสตถิผล บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ตราบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน นับได้ว่าท่านเป็นพระอริยสงฆ์ที่ควรค่าแก่การกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจอีกรูปหนึ่งที่ยังเหลืออยู่

หลวงปู่บุญหนาได้ให้สติแก่ญาติโยมผู้เดินทางมากราบนมัสการเสมอว่า ให้เป็นผู้มีสติ ระลึกรู้ในกาย สติระลึกรู้ในวาจาคำพูด สติระลึกรู้ในใจ เมื่อสติรู้ซักซ้อมอยู่ภายในกาย วาจา และใจแล้ว ทำ พูด คิด ถูกและผิด ก็ระลึกรู้อยู่ ปรับปรุงอยู่อย่างนี้เสมอ ซึ่งเป็นคำสอนของพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ที่ได้เล่าเรื่องของท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เทศน์แสดงธรรมสั้นๆ ในช่วงที่เคยเดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่นครั้งนั้นว่า "กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต กายบริสุทธิ์ วาจาบริสุทธิ์ ใจบริสุทธิ์"

หลวงปู่บุญหนาจึงเป็นเนื้อนาบุญของชาวสกลนครเป็นบุคคลที่ควรค่าแก่การยกย่องโดยแท้

นอกจากนี้ ท่านยังได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์อื่นๆ อีก เช่น พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม พระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม พระอาจารย์ลี ธัมมธโร พระอาจารย์แหวน สุจิณโณ พระอาจารย์สิม พุทธาจาโร และพระอาจารย์จาม มหาปุญโญ เป็นต้น

"หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน" พระสายวิปัสสนากัมมัฏฐานที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยชื่อดังรูปหนึ่งแห่งเมืองสกลนคร ซึ่งถือได้ว่าเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นรุ่นสุดท้าย ที่ยังดำรงอยู่ ณ วัดป่าโสตถิผล บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อเงิน บางคลาน จอบใหญ่

เหรียญ จอบใหญ่ หลวงพ่อเงิน มีจุดตำหนิแห่งหนึ่ง ซึ่งนักเล่นจะให้สำคัญหรือเน้นการพิจารณามาก เพราะจะปรากฎพบทุกองค์นั้นจะสึกลบเลือนไปมากก็ยังเห็นอยู่ คือเส้นขอบเหรียญด้านล่างโย้ขึ้นไปจรดใต้ขาซ้ายแลดูคล้ายกับเส้นบล็อกแตกเป็นทางจากซุ้มไปจรดขา นอกจากนี้ก็ยังมีอีกตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งนักเล่นเก่งๆพยายามปกปิด หากสวยสมบูรณ์จะเห็น “เนื้อล้น”ที่ข้างหูด้านขวา หรือเหนือหัวไหล่ขวาเป็นสันนูนออกมาเล็กน้อยคล้าย “รอยพับ” อีกทั้งห่วงหูขวาจะปรากฏ “เม็ดไข่ปลา”และเส้นซุ้มแบบเดียวกับด้านข้างองค์พระ โดยมักจะสึกลบเลือน เนื่องเพราะเป็นจุดนูนเหรือบริเวณสัมผัส และความหนาของห่วงระดับใกล้เคียงกับ”ซุ้มข้างองค์พระ” ปัจจุบันเหรียญ “จอบใหญ่” หลวงพ่อเงิน ของแท้แน่นอนหายากมากๆ ส่วนของปลอมเลียนแบบฝีมือยังห่างไกล

สืบสานตำนาน "ทหารผี" สู่ "พระกริ่งบางหอย" สุดยอดมหาอุด คงกระพัน โดยหลวงพ่อจาด

เปิดกรุ "พระกริ่งบางหอย" มรดกหลวงพ่อจาด ที่นักสะสมต้องมี ราคาจับต้องได้ เครดิตภาพ: web pra พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด แบ่งออกเป็น 3 พิมพ์ ด้วยกัน คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พุทธลักษณะพระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด พุทธลักษณะคล้ายพระกริ่ง 79 สมเด็จพระสังฆราชแพ โดยเฉพาะ พิมพ์ใหญ่ ด้านหลังมีตัว อุ อยู่ตรงกลางฐาน หล่อด้วยเนื้อทองผสม บางองค์เนื้อจัดมาก ผิวแบบเนื้อสัมฤทธิ์ก็มี  บางองค์แก่ทองเหลือง บางองค์แก่ทองแดง ในพิธีการเททองหล่อพระกริ่ง บางหอย นี้ ได้จัดสร้าง พระรูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อจาด ด้วย แต่น้อยมาก  นักสะสมพระเครื่องส่วนใหญ่ไม่รู้จักยกเว้นคนพื้นที่ พระรูปหล่อลอยองค์มี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานตอกชื่อ สวัสดิ์ ผ่องสกุล (สันนิษฐานว่าเป็นชื่อผู้สร้าง) , พิมพ์ฐานจาร(แต่บางคนองค์ไม่มี)พระกริ่ง บางหอย พิจารณาเล่นหาได้ง่าย และมีจำนวนพระเครื่องที่หมุนเวียนเปลี่ยนมือในวงการก็มีมากพอเพียง และที่สำคัญราคาเช่าหายังพอสู้กันไหว พระกริ่ง บางหอย พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ส่วนใหญ่ที่พบมักจะหล่องดงามมาแต่เดิม จึงไม่จำเป็นต้องแต่ง แต่ก็มีบ้างที่แต่งเซาะเนื้อรายละเอียดบางแห่ง...

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา พระเกจิอาจารย์ที่มีอายุยืนยาวที่สุดถึง 117 ปี ท่านครองวัดซึ่งอยู่โดดเดี่ยวภายในแวดวงของอิสลามมิกชน ขอบคุณภาพสวยๆจาก ทีนิวส์ หลวงปู่ทองเหรียญหน้าจมเป็นเหรียญที่แกะด้วยฝีมือเป็นเลิศ เหรียญหลวงปู่ทองรุ่นแรกนี้ สร้างในราว ปี พ.ศ.2480 ซึ่งเป็น พระเครื่อง เหรียญรูปหลวงปู่เหรียญเดียวเท่านั้นที่สร้างในขณะที่ท่านยังดำรงชีวิตอยู่นอกจากเหรียญรุ่นนี้แล้ว ปรากฏว่า มีสานุศิษย์ของหลวงปู่ทองได้สร้างขึ้นอีก 2-3 แบบ สำหรับพระเครื่องวัตถุมงคลเหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา รุ่น 1 ซึ่งท่านอาจารย์แก้ว คำวิบูลย์ เป็นผู้สร้างนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 พิมพ์ด้วยกัน พิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าลอย พิมพ์นี้ รูปท่านลายเด่นอยู่เหนือพื้นเหรียญ สำหรับอีกพิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าจม นั้น รูปหน้าท่านจมลงไปในพื้นเหรียญอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่แสดงเป็นเบ้าตา , แก้มที่ตอบและรูปปากของท่านด้วยเอกลักษณะของพิมพ์ดังกล่าวแล้ว นักสะสมพระเครื่องจึงแยกเป็น พิมพ์หน้าลอยและพิมพ์หน้าจมสำหรับรายละเอียดนั้นเหมือนกันทั้ง ๒ พิมพ์ ผิดแต่ขนาดของพิมพ์หน้าลอยเล็กกว่าพิมพ์หน้าจมเล็กน้อยเท่าน...