ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เหรียญหลวงปู่คำพันธ์


เหรียญหลวงปู่คำพันธ์

คอลัมน์ เปิดตลับพระใหม่




"พระสุนทรธรรมกร" หรือ "หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ" อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุมหาชัย ต.มหาชัย อ.ปลา ปาก จ.นครพนม พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งภาคอีสาน ที่มีวิชากัมมัฏฐานแก่กล้าเรืองวิทยาคม เล่นแร่แปรธาตุจนเลื่องชื่อ ได้รับสมญานามว่า "เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำโขง"

ท่านได้รับแนวทางในการฝึกปฏิบัติกัมมัฏฐานจาก หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ในห้วงที่ท่านยังมีชีวิตได้สร้างวัดวาอาราม อุโบสถ โรงพยาบาล และโรงเรียนขึ้นหลายแห่ง

ครั้นล่วงเข้าสู่วัยชราภาพ ท่านมีโรคประจำ ตัวรุมเร้า อาพาธนานหลายปี จนเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2546 เวลาประมาณ 01.59 น. ท่านได้ละสังขารลงอย่างสงบ สิริรวมอายุ 89 ปี พรรษา 59

กล่าวขานกันว่า วัตถุมงคลหลายรุ่นของหลวงปู่คำพันธ์ มีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ผู้ที่มีไว้ในครอบครองบูชา ล้วนไม่เคยลำบากหรือเดือดร้อน ไม่มีอุปสรรคเข้ามาแผ้วพาน ประสบโชคลาภเงินทองไหลมาเทมา

ผู้ที่มีวัตถุมงคลหลวงปู่คำพันธ์ ให้จุดธูปบูชาอธิษฐานขอพร นำเหรียญหรือวัตถุมงคลไว้ในมือ สวดนะโม 3 จบ จะเกิดสิ่งดลใจให้สมความปรารถนาทุกประการ

ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่หลวงปู่คำพันธ์จะมรณภาพไม่นาน ท่านได้นั่งภาวนาอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคล ซึ่งเป็นรุ่นสุดท้ายจริงๆ คือ "เหรียญหลวงปู่คำพันธ์ รุ่น พ.ศ.2546"

จัดสร้างโดย พล.ต.สมศักดิ์ ถาวรศิริ ขณะครองตำแหน่งเป็นรองผู้บัญชาการมลฑลทหารบกที่ 3 (ร.3 พัน 3) อุดรธานี เนื่องในโอกาสที่ระลึกครบรอบ 100 ปี กองพลทหารราบที่ 3 ได้ทำไว้แจกจ่ายให้แก่กำลังพลเป็นขวัญและกำลังใจ

เหรียญรุ่นดังกล่าว จัดสร้างเป็นเหรียญรูปไข่ ไม่มีหูห่วง ประกอบด้วย เนื้อทองคำ 4 เหรียญ เนื้อเงิน 199 เหรียญ เนื้อทองเหลือง 300 เหรียญ และเนื้อทองแดง 10,000 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญ มีรูปเหมือนหลวงปู่คำพันธ์หน้าตรงครึ่งองค์ เหรียญรุ่นนี้มีความหนา 4 มิลลิเมตร ด้านล่างจากขอบไหล่ด้านซ้ายถึงจีวรด้านขวา สลักตัวหนังสือนูน "หลวงปู่คำพัน โฆสปัญโญ"

ด้านหลังเหรียญ ครึ่งวงรีสลักตัวหนังสือคำว่า "ที่ระลึกครบรอบ ๑๐๐ ปี" ขั้นกลางมีตรากงจักร และสลักวันเดือนปีที่สร้าง "๑๓ เมษายน ๒๕๔๖" ตรงกลางเหรียญมีตราสัญลักษณ์ของกองพลทหารราบที่ ๓ พร้อมคำขวัญระบุว่า "พลีชีพ พิทักษ์ชาติ"

ลักษณะเด่นของเหรียญรุ่นนี้ มีความหนาพิเศษ โดยเฉพาะรูปเหมือนหลวงปู่จะนูนสวยลอยองค์ จมูกไม่แบน และสวยที่สุดของเหรียญรูปไข่เท่าที่จัดสร้างมา

ข้อสังเกต ถ้าเป็นของเก๊เหรียญจะพร่ามัว แต่ถ้าเป็นเหรียญแท้จะมีเส้นรัศมี

เหรียญรุ่นนี้ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านแคล้วคลาดสูง คือ ปกปักรักษา และมหาโชคมหาลาภ

การเช่าหาบูชาเหรียญ เนื้อทองคำอยู่ที่ 300,000 บาท เนื้อเงิน 12,000-15,000 บาท เนื้อทองเหลือง 4,000-5,000 บาท และเนื้อทองแดงหลักพัน-พันกลาง ขึ้นอยู่ตามสภาพการใช้งาน

เป็นเหรียญรุ่นสุดท้ายที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงและได้รับความนิยมสูงในขณะนี้

พระพิจิตร

Daddy Yummy

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา พระเกจิอาจารย์ที่มีอายุยืนยาวที่สุดถึง 117 ปี ท่านครองวัดซึ่งอยู่โดดเดี่ยวภายในแวดวงของอิสลามมิกชน ขอบคุณภาพสวยๆจาก ทีนิวส์ หลวงปู่ทองเหรียญหน้าจมเป็นเหรียญที่แกะด้วยฝีมือเป็นเลิศ เหรียญหลวงปู่ทองรุ่นแรกนี้ สร้างในราว ปี พ.ศ.2480 ซึ่งเป็น พระเครื่อง เหรียญรูปหลวงปู่เหรียญเดียวเท่านั้นที่สร้างในขณะที่ท่านยังดำรงชีวิตอยู่นอกจากเหรียญรุ่นนี้แล้ว ปรากฏว่า มีสานุศิษย์ของหลวงปู่ทองได้สร้างขึ้นอีก 2-3 แบบ สำหรับพระเครื่องวัตถุมงคลเหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา รุ่น 1 ซึ่งท่านอาจารย์แก้ว คำวิบูลย์ เป็นผู้สร้างนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 พิมพ์ด้วยกัน พิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าลอย พิมพ์นี้ รูปท่านลายเด่นอยู่เหนือพื้นเหรียญ สำหรับอีกพิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าจม นั้น รูปหน้าท่านจมลงไปในพื้นเหรียญอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่แสดงเป็นเบ้าตา , แก้มที่ตอบและรูปปากของท่านด้วยเอกลักษณะของพิมพ์ดังกล่าวแล้ว นักสะสมพระเครื่องจึงแยกเป็น พิมพ์หน้าลอยและพิมพ์หน้าจมสำหรับรายละเอียดนั้นเหมือนกันทั้ง ๒ พิมพ์ ผิดแต่ขนาดของพิมพ์หน้าลอยเล็กกว่าพิมพ์หน้าจมเล็กน้อยเท่าน

เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รุ่นเสาร์ห้า หลวงพ่อนุ่ม

เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รุ่นเสาร์ห้า หลวงพ่อนุ่ม เครดิตภาพ wep-pra นับเป็นพระเครื่องวัตถุมงคลอีกประเภทหนึ่งของ หลวงพ่อนุ่ม ที่ได้รับความนิยมมากความจริงแล้วพระในรุ่นเสาร์ห้านี้ หลวงพ่อได้จัดสร้างขึ้นรวม 3 แบบด้วยกันคือ เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม , พิมพ์พระนางพญา และ พิมพ์พระปางสมาธิ แต่ที่นิยมกันมากที่สุดมีราคาแพงที่สุด ก็ได้แก่ เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รองลงมาก็คือ พิมพ์นางพญา และพิมพ์สมาธิ ตามลำดับ ในส่วนของ พระเครื่อง เหรียญหล่อสี่เหลี่ยมนั้น เป็นพระขนาดประมาณ 2.3-3.2 ซ.ม. ด้านหน้าเป็นรูปพระองค์พระปางสมาธิ ฐาน 3 ชั้น อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยม เหนือฐานชั้นบนมีกลีบบัวรองรับองค์พระอยู่รวม 6 กลีบ ส่วนด้านหลังเป็นยันต์ตรีนิสิงเห สำหรับพิมพ์นางพญาและพิมพ์สมาธิ องค์พระเป็นรูปสามเหลี่ยมปางมารวิชัย และปางสมาธิ ส่วนด้านหลังจะเรียบทั้ง 2 พิมพ์ ทั้ง 3 แบบพิมพ์พระเครื่องนี้ จัดสร้างขึ้นโดยการหล่อด้วยด้วยเนื้อทองเหลืองและด้วยการเป็นพระหล่อนี่เองทำให้พุทธลักษณะและเนื้อหาขององค์พระเครื่องประกอบกันเข้าแล้ว ดูสวยแปลกตาและมีเสน่ห์ไม่แพ้เหรียญหล่อหรือพระหล่อจากสำนักใดๆเลย ในด้านพุทธคุณไม่ถือเป็นรอง

พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด

พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา เครดิตภาพ: web pra พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด แบ่งออกเป็น 3 พิมพ์ ด้วยกัน คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พุทธลักษณะพระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด พุทธลักษณะคล้ายพระกริ่ง 79 สมเด็จพระสังฆราชแพ โดยเฉพาะ พิมพ์ใหญ่ ด้านหลังมีตัว อุ อยู่ตรงกลางฐาน หล่อด้วยเนื้อทองผสม บางองค์เนื้อจัดมาก ผิวแบบเนื้อสัมฤทธิ์ก็มี  บางองค์แก่ทองเหลือง บางองค์แก่ทองแดง ในพิธีการเททองหล่อพระกริ่ง บางหอย นี้ ได้จัดสร้าง พระรูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อจาด ด้วย แต่น้อยมาก นักสะสมพระเครื่องส่วนใหญ่ไม่รู้จักยกเว้นคนพื้นที่ พระรูปหล่อลอยองค์มี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานตอกชื่อ สวัสดิ์ ผ่องสกุล (สันนิษฐานว่าเป็นชื่อผู้สร้าง) , พิมพ์ฐานจาร(แต่บางคนองค์ไม่มี)พระกริ่ง บางหอย พิจารณาเล่นหาได้ง่าย และมีจำนวนพระเครื่องที่หมุนเวียนเปลี่ยนมือในวงการก็มีมากพอเพียง และที่สำคัญราคาเช่าหายังพอสู้กันไหว พระกริ่ง บางหอย พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ส่วนใหญ่ที่พบมักจะหล่องดงามมาแต่เดิม จึงไม่จำเป็นต้องแต่ง แต่ก็มีบ้างที่แต่งเซาะเนื้อรายละเอียดบางแห่ง อาทิ จีวรข้างแขน,บาตรน้ำมนต์ในองค์ที่หล่