ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เหรียญหลวงพ่อโชติ:พระมงคลทิพยมุนี วัดทองธรรมชาติ กรุงเทพฯ

หลวงพ่อโชติ วัดตะโน กรุงเทพฯ


ขอบคุณ ภาพประกอบบทความจาก คุณ เก่ง คลองขวาง

เหรียญหลวงพ่อโชติ รุ่นแรกมีลักษณะรูปไข่ สร้างแจกเนื่องในงานทำบุญอายุ 80 ปี ของหลวงพ่อเมื่อปี พ.ศ. 2490 เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมมากในย่านบางแวก เนื่องจากท่านเป็นพระภิกษุที่มีความสามารถหลายๆอย่างในด้านเครื่องรางของขลังท่านก็ได้ใช้วิชาความรู้ที่ได้เล่าเรียนมาทำตะกรุด เชือกคาดเอว แจกบรรดาศิษยานุศิษย์เหรียญของท่านจึงนับวันจะหายาก

พระมงคลทิพยมุนี วัดทองธรรมชาติ กรุงเทพฯ
เหรียญพระมงคลทพิยมุนี ที่นำเสนอนี้ เป็นวัตถุมงคลเหรียญที่ท่านได้สร้างและปลุกเสกด้วยตนเอง เมื่อปี พ.ศ. 2499 เนื่องในงานฉลองชนมายุครบ ๗ รอบ เหรียญรุ่นนี้เป็นของดีที่มีคุณค่าและควรเก็บไว้ให้ลูกหลานได้มีไว้คุ้มครองภัย เพราะสมัยมีชีวิตอยู่ท่านได้ปฎิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรมและสร้างเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงวัดให้มีสภาพดีถาวรสืบต่อมา เหรียญรุ่นนี้จึงมีผู้เคารพเลื่อมใสแม้สนนราคาจะไม่สูงนักแต่มีกิตติคุณดีควรมีไว้ติดตัวเพื่อเป็นสิริมงคล


ขอบคุณ ภาพประกอบบทความจาก คุณ pikajood

หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา

หลวงพ่อจงจะเป็นพระที่ได้รับเกียรติยกย่องว่าทรงวิทยาวรคุณและมีชื่อเสียงโด่งดังในเวลานั้น เรียนวิปัสสนากรรมฐานจนได้สำเร็จการทำสมาธิจิต ภายหลังหลวงพ่อจงได้ปลุกเสกพระเครื่องวัตถุมงคลแจกศิษย์ เช่นตะกรุด ผ้ายันต์ จนได้รับการกล่าวขานในด้านความขลังต่างๆ เหรียญสี่เหรียญสี่เหลี่ยมพิมพ์ขนมเปียกปูนที่นำเสนอนี้เป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยม เพราะเป็นเหรียญเก่าแก่ที่จัดสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2492-95 และจำนวนในการสร้างไม่มากนักจึงเป็นเหรียญที่ค่อนข้างจะหายาก
บทความพระเครื่องยอดนิยม:เหรียญสรงน้ำ หลวงพ่อพรหม

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อเงิน บางคลาน จอบใหญ่

เหรียญ จอบใหญ่ หลวงพ่อเงิน มีจุดตำหนิแห่งหนึ่ง ซึ่งนักเล่นจะให้สำคัญหรือเน้นการพิจารณามาก เพราะจะปรากฎพบทุกองค์นั้นจะสึกลบเลือนไปมากก็ยังเห็นอยู่ คือเส้นขอบเหรียญด้านล่างโย้ขึ้นไปจรดใต้ขาซ้ายแลดูคล้ายกับเส้นบล็อกแตกเป็นทางจากซุ้มไปจรดขา นอกจากนี้ก็ยังมีอีกตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งนักเล่นเก่งๆพยายามปกปิด หากสวยสมบูรณ์จะเห็น “เนื้อล้น”ที่ข้างหูด้านขวา หรือเหนือหัวไหล่ขวาเป็นสันนูนออกมาเล็กน้อยคล้าย “รอยพับ” อีกทั้งห่วงหูขวาจะปรากฏ “เม็ดไข่ปลา”และเส้นซุ้มแบบเดียวกับด้านข้างองค์พระ โดยมักจะสึกลบเลือน เนื่องเพราะเป็นจุดนูนเหรือบริเวณสัมผัส และความหนาของห่วงระดับใกล้เคียงกับ”ซุ้มข้างองค์พระ” ปัจจุบันเหรียญ “จอบใหญ่” หลวงพ่อเงิน ของแท้แน่นอนหายากมากๆ ส่วนของปลอมเลียนแบบฝีมือยังห่างไกล

สืบสานตำนาน "ทหารผี" สู่ "พระกริ่งบางหอย" สุดยอดมหาอุด คงกระพัน โดยหลวงพ่อจาด

เปิดกรุ "พระกริ่งบางหอย" มรดกหลวงพ่อจาด ที่นักสะสมต้องมี ราคาจับต้องได้ เครดิตภาพ: web pra พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด แบ่งออกเป็น 3 พิมพ์ ด้วยกัน คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พุทธลักษณะพระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด พุทธลักษณะคล้ายพระกริ่ง 79 สมเด็จพระสังฆราชแพ โดยเฉพาะ พิมพ์ใหญ่ ด้านหลังมีตัว อุ อยู่ตรงกลางฐาน หล่อด้วยเนื้อทองผสม บางองค์เนื้อจัดมาก ผิวแบบเนื้อสัมฤทธิ์ก็มี  บางองค์แก่ทองเหลือง บางองค์แก่ทองแดง ในพิธีการเททองหล่อพระกริ่ง บางหอย นี้ ได้จัดสร้าง พระรูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อจาด ด้วย แต่น้อยมาก  นักสะสมพระเครื่องส่วนใหญ่ไม่รู้จักยกเว้นคนพื้นที่ พระรูปหล่อลอยองค์มี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานตอกชื่อ สวัสดิ์ ผ่องสกุล (สันนิษฐานว่าเป็นชื่อผู้สร้าง) , พิมพ์ฐานจาร(แต่บางคนองค์ไม่มี)พระกริ่ง บางหอย พิจารณาเล่นหาได้ง่าย และมีจำนวนพระเครื่องที่หมุนเวียนเปลี่ยนมือในวงการก็มีมากพอเพียง และที่สำคัญราคาเช่าหายังพอสู้กันไหว พระกริ่ง บางหอย พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ส่วนใหญ่ที่พบมักจะหล่องดงามมาแต่เดิม จึงไม่จำเป็นต้องแต่ง แต่ก็มีบ้างที่แต่งเซาะเนื้อรายละเอียดบางแห่ง...

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา พระเกจิอาจารย์ที่มีอายุยืนยาวที่สุดถึง 117 ปี ท่านครองวัดซึ่งอยู่โดดเดี่ยวภายในแวดวงของอิสลามมิกชน ขอบคุณภาพสวยๆจาก ทีนิวส์ หลวงปู่ทองเหรียญหน้าจมเป็นเหรียญที่แกะด้วยฝีมือเป็นเลิศ เหรียญหลวงปู่ทองรุ่นแรกนี้ สร้างในราว ปี พ.ศ.2480 ซึ่งเป็น พระเครื่อง เหรียญรูปหลวงปู่เหรียญเดียวเท่านั้นที่สร้างในขณะที่ท่านยังดำรงชีวิตอยู่นอกจากเหรียญรุ่นนี้แล้ว ปรากฏว่า มีสานุศิษย์ของหลวงปู่ทองได้สร้างขึ้นอีก 2-3 แบบ สำหรับพระเครื่องวัตถุมงคลเหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา รุ่น 1 ซึ่งท่านอาจารย์แก้ว คำวิบูลย์ เป็นผู้สร้างนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 พิมพ์ด้วยกัน พิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าลอย พิมพ์นี้ รูปท่านลายเด่นอยู่เหนือพื้นเหรียญ สำหรับอีกพิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าจม นั้น รูปหน้าท่านจมลงไปในพื้นเหรียญอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่แสดงเป็นเบ้าตา , แก้มที่ตอบและรูปปากของท่านด้วยเอกลักษณะของพิมพ์ดังกล่าวแล้ว นักสะสมพระเครื่องจึงแยกเป็น พิมพ์หน้าลอยและพิมพ์หน้าจมสำหรับรายละเอียดนั้นเหมือนกันทั้ง ๒ พิมพ์ ผิดแต่ขนาดของพิมพ์หน้าลอยเล็กกว่าพิมพ์หน้าจมเล็กน้อยเท่าน...