ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระเครื่องผงเก่า ใหม่หรือเก๊-แท้

พระเครื่องผงเก่า ใหม่หรือเก๊-แท้ - พระเครื่อง:พระเครื่องพลาซ่า ร้านพระเครื่อง ศูนย์เช่าพระเครื่อง วัตถุมงคล

พระเครื่องผงเก่า ใหม่หรือเก๊-แท้


พระเครื่อง พระผงในบรรดาวัสดุมวลสารที่ได้นำมาสร้างทำเป็นพระเครื่องก็มีหลายสิ่งหลายอย่างด้วยกัน เช่น ดิน ผง โลหะ ไม้ หิน หยก เป็นต้น วัสดุเหล่านี้เมื่อได้มีการนำมาสร้างทำเป็นพระเครื่องแล้วเมื่อได้ผ่านอายุการสร้างไปเป็นเวลานานหลายๆปีแล้ว แต่ละชนิดก็จะแสดงความเก่าออกมาไม่เหมือนกันดินเมื่อเก่าก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง เนื้อโลหะเมื่อเก่าก็จะไปอีกแบบหนึ่ง เนื้อผงก็จะไปอีกอย่างหนึ่ง สำหรับหลักการพิจารณาความเก่าใหม่ของเนื้อผงเก่าเป็นอย่างไร รวมทั้งการพิจารณษความเก๊หรือแท้ของพระเครื่องเนื้อผงด้วย
สำหรับการสร้างพระเครื่องเนื้อผงก่อนนั้นมีความเชื่อกันมาว่ามีการเริ่มสร้างกันในสมัยรัตนโกสินทร์ แต่พอมาระยะหลังรู้สึกว่าพระเครื่องเนื้อผงน่าจะมีการริเริ่มสร้างกันมาก่อนหน้านี้ทั้งนี้ก็เพราะมีพระเครื่องเนื้อผงหลายพิมพ์ซึ่งได้มีการค้นพบว่ามีอายุคลอดจนระยะเวลาการสร้างเกินกว่าสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เพียงแต่ว่าในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการนิยมสร้างพระเครื่องเนื้อผงกันมาก
พระเครื่องเนื้อผงที่ได้สร้างขึ้นมาส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยผงหลัง 5 ประการ อันได้แก่ ผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเห ผงมหาราช และผงพุทธคุณ ซึ่งผงวิเศษ 5 ประการนี้ก็ได้มาจากการนำเอาผงดินสอพองมาป่นให้ละเอียดแล้วปั๊มให้เป็นแท่งดินสอใช้สำหรับเขียนอักขระเลขยันต์ลงบนกระดานชนวน เขาว่าต้องใช้น้ำคั้นจากใบตำลึงมาทาที่แท่งดินสอพองเพื่อกันไม่ให้ผงจากแท่งดินสอพองติดมือขณะที่เขียนพระอาจารย์ผู้สร้างผงวิเศษก็จำทำการเรียกสูตรอักขระเลขยันต์ของแต่ละตัวแล้วเขียนตัวอักขระลงบนกระดานชนวนขณะที่เขียนอักขระไปนั้นก็จะมีการกำหนดจิตเพ่งตามอย่างมีสมาธิไปด้วย คือ ตาจ้อง จิตเพ่ง ปากภาวนา มือเขียน กว่าจะเขียนเสร็จแล้วลบก็ต้องใช้ระยะเวลาเช่นกัน แม้แต่ว่าเมื่อเขียนอักขระเลขยันต์เสร็จแล้ว ขณะที่ลบผงก็ต้องภาวนาขณะที่ลบผงเป็นการเฉพาะ เมื่อลบผงเสร็จแล้วก็จะเก็บผงใส่ไว้ในภาชนะที่เตรียมไว้ และก็เริ่มเขียนใหม่ ต้องพยายามเขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียนเป็นอย่างนี้ซ้ำซากไม่รู้จะกี่ร้อยครั้งพันครั้งกว่าจะได้ผงมาสักก้อน แล้วผงแต่ละชนิดก็มีสูตรการสร้างไม่เหมือนกันอีกด้วย ดังนั้นกว่าจะได้ผงเพียงพอในการสร้างพระเครื่องก็ต้องใช้ระยะเวลาเป็นนานปีแต่ถ้าเป็นสมัยนี้ แค่ไปซื้อปูนขาวมาจากตลาด เอาไปให้หลวงพ่อ หลวงตา หลวงปู่ปลุกเสก ก็เสร็จแล้ว แต่ว่าจะมีอานภาพความศักดิ์สิทธิ์เหมือนกสับที่พระเกจิอาจารย์ยุคเก่าสร้างหรือเปล่าก็ไม่รู้เหมือนกัน
มีต่ออีก 2 ตอนครับ

Daddy Yummy

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา พระเกจิอาจารย์ที่มีอายุยืนยาวที่สุดถึง 117 ปี ท่านครองวัดซึ่งอยู่โดดเดี่ยวภายในแวดวงของอิสลามมิกชน ขอบคุณภาพสวยๆจาก ทีนิวส์ หลวงปู่ทองเหรียญหน้าจมเป็นเหรียญที่แกะด้วยฝีมือเป็นเลิศ เหรียญหลวงปู่ทองรุ่นแรกนี้ สร้างในราว ปี พ.ศ.2480 ซึ่งเป็น พระเครื่อง เหรียญรูปหลวงปู่เหรียญเดียวเท่านั้นที่สร้างในขณะที่ท่านยังดำรงชีวิตอยู่นอกจากเหรียญรุ่นนี้แล้ว ปรากฏว่า มีสานุศิษย์ของหลวงปู่ทองได้สร้างขึ้นอีก 2-3 แบบ สำหรับพระเครื่องวัตถุมงคลเหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา รุ่น 1 ซึ่งท่านอาจารย์แก้ว คำวิบูลย์ เป็นผู้สร้างนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 พิมพ์ด้วยกัน พิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าลอย พิมพ์นี้ รูปท่านลายเด่นอยู่เหนือพื้นเหรียญ สำหรับอีกพิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าจม นั้น รูปหน้าท่านจมลงไปในพื้นเหรียญอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่แสดงเป็นเบ้าตา , แก้มที่ตอบและรูปปากของท่านด้วยเอกลักษณะของพิมพ์ดังกล่าวแล้ว นักสะสมพระเครื่องจึงแยกเป็น พิมพ์หน้าลอยและพิมพ์หน้าจมสำหรับรายละเอียดนั้นเหมือนกันทั้ง ๒ พิมพ์ ผิดแต่ขนาดของพิมพ์หน้าลอยเล็กกว่าพิมพ์หน้าจมเล็กน้อยเท่าน

เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รุ่นเสาร์ห้า หลวงพ่อนุ่ม

เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รุ่นเสาร์ห้า หลวงพ่อนุ่ม เครดิตภาพ wep-pra นับเป็นพระเครื่องวัตถุมงคลอีกประเภทหนึ่งของ หลวงพ่อนุ่ม ที่ได้รับความนิยมมากความจริงแล้วพระในรุ่นเสาร์ห้านี้ หลวงพ่อได้จัดสร้างขึ้นรวม 3 แบบด้วยกันคือ เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม , พิมพ์พระนางพญา และ พิมพ์พระปางสมาธิ แต่ที่นิยมกันมากที่สุดมีราคาแพงที่สุด ก็ได้แก่ เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รองลงมาก็คือ พิมพ์นางพญา และพิมพ์สมาธิ ตามลำดับ ในส่วนของ พระเครื่อง เหรียญหล่อสี่เหลี่ยมนั้น เป็นพระขนาดประมาณ 2.3-3.2 ซ.ม. ด้านหน้าเป็นรูปพระองค์พระปางสมาธิ ฐาน 3 ชั้น อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยม เหนือฐานชั้นบนมีกลีบบัวรองรับองค์พระอยู่รวม 6 กลีบ ส่วนด้านหลังเป็นยันต์ตรีนิสิงเห สำหรับพิมพ์นางพญาและพิมพ์สมาธิ องค์พระเป็นรูปสามเหลี่ยมปางมารวิชัย และปางสมาธิ ส่วนด้านหลังจะเรียบทั้ง 2 พิมพ์ ทั้ง 3 แบบพิมพ์พระเครื่องนี้ จัดสร้างขึ้นโดยการหล่อด้วยด้วยเนื้อทองเหลืองและด้วยการเป็นพระหล่อนี่เองทำให้พุทธลักษณะและเนื้อหาขององค์พระเครื่องประกอบกันเข้าแล้ว ดูสวยแปลกตาและมีเสน่ห์ไม่แพ้เหรียญหล่อหรือพระหล่อจากสำนักใดๆเลย ในด้านพุทธคุณไม่ถือเป็นรอง

พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด

พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา เครดิตภาพ: web pra พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด แบ่งออกเป็น 3 พิมพ์ ด้วยกัน คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พุทธลักษณะพระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด พุทธลักษณะคล้ายพระกริ่ง 79 สมเด็จพระสังฆราชแพ โดยเฉพาะ พิมพ์ใหญ่ ด้านหลังมีตัว อุ อยู่ตรงกลางฐาน หล่อด้วยเนื้อทองผสม บางองค์เนื้อจัดมาก ผิวแบบเนื้อสัมฤทธิ์ก็มี  บางองค์แก่ทองเหลือง บางองค์แก่ทองแดง ในพิธีการเททองหล่อพระกริ่ง บางหอย นี้ ได้จัดสร้าง พระรูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อจาด ด้วย แต่น้อยมาก นักสะสมพระเครื่องส่วนใหญ่ไม่รู้จักยกเว้นคนพื้นที่ พระรูปหล่อลอยองค์มี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานตอกชื่อ สวัสดิ์ ผ่องสกุล (สันนิษฐานว่าเป็นชื่อผู้สร้าง) , พิมพ์ฐานจาร(แต่บางคนองค์ไม่มี)พระกริ่ง บางหอย พิจารณาเล่นหาได้ง่าย และมีจำนวนพระเครื่องที่หมุนเวียนเปลี่ยนมือในวงการก็มีมากพอเพียง และที่สำคัญราคาเช่าหายังพอสู้กันไหว พระกริ่ง บางหอย พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ส่วนใหญ่ที่พบมักจะหล่องดงามมาแต่เดิม จึงไม่จำเป็นต้องแต่ง แต่ก็มีบ้างที่แต่งเซาะเนื้อรายละเอียดบางแห่ง อาทิ จีวรข้างแขน,บาตรน้ำมนต์ในองค์ที่หล่