ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระเกศาพระครูบาศรีวิชัย วัดบ้านปาง จ.ลำพุน พิมพ์พระลือ


พระเกศาพระครูบาศรีวิชัย
วัดบ้านปาง จ.ลำพุน พิมพ์พระลือ

พระครูบาศรีวิชัย พระอริยสงฆ์ทางภาคเหนือ ผู้ได้สร้างคุณประโยชน์ทั้งต่อสังคม และพระศาสนาเอาไว้มากเหลือคณานับ จนได้รับฉายาด้วยความยกย่องและศรัทธาว่า “นักบุญแห่งล้านนา” ท่านนี้นับเป็นผู้มีบุญมาเกิดอย่างแท้จริง ตอนท่านเกิดก็มีปรากฎการณ์ฝนตกฟ้าคนองอย่างหนัก แต่พอท่านคลอดออกมาปรากฎการณ์ก็พลันหายไป
แม้ว่าจะสร้างเมื่อตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ แต่พระครูบาศรีวิชัยท่านก็ไม่ได้ปลุกเสกเช่นกัน เป็นพระเครื่องที่ชาวบ้านเก็บเอา “เกศา” ที่พระครูบาศรีวิชัยปลงทุกวันโกน เอาไปบรรจุในพระเครื่องที่กดพิมพ์ขึ้นเอง แล้วก็นำไปบูชาแบบของใครของมัน พระครูบาศรีวิชัยท่านไม่ได้ปลุกเสกแม้มีชาวบ้านกดพิมพ์เสร็จแล้วนำไปให้ดูท่านก็เพียงแต่พูดว่าสวยดีเก็บไว้ให้ดีเด๊อะ พูดเพียงเท่านี้ชาวบ้านก็ถือว่าเป็นสิริมงคลแล้วครับ
พระเกศาพระครูบาศรีวิชัย พิมพ์ไม่ค่อยเป็นมาตรฐาน เพราะชาวบ้านกดพิมพ์ขึ้นเอง แต่ส่วนมากจะเป็นพิมพ์พระกรุเมืองลำพูนอย่างเช่น พิมพ์พระรอด พระคง พระเปิม พระเลี่ยง และพระลือ เป็นต้น สำหรับพิมพ์พระลือนี้ดูเหมือนว่าจะได้รับความนิยมสูงกว่าอีกหลายๆ พิมพ์ทั้งนี้ก็เนื่องจากพิมพ์นี้นอกจากจะมีน้อยและเป็นพิมพ์พระเครื่อง เมืองลำพูนพิมพ์หนึ่งแล้ว ก็ยังถือเคล็ดกันว่า บูชาแล้วจะมีเกียรติยศชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือ
พระเกศาพระครูบาศรีวิชัยแม้ท่านจะไม่ปลุกเสกเองโดยตรง แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้วชาวบ้านก็จำนำเอาพระใส่บาตรและใส่พานจากนั้นก็นำไปวางที่ฐานพระประธานในพระอุโบสถ เวลาพระครูบาศรีวิชัยนำพระสงฆ์ลงสวดเจริญพระพุทธมนต์ และสวดพระปาฎิโมกข์พระเกศานี้ก็เท่ากับได้รับการปลุกเสกไปด้วยเช่นกัน

Daddy Yummy

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา พระเกจิอาจารย์ที่มีอายุยืนยาวที่สุดถึง 117 ปี ท่านครองวัดซึ่งอยู่โดดเดี่ยวภายในแวดวงของอิสลามมิกชน ขอบคุณภาพสวยๆจาก ทีนิวส์ หลวงปู่ทองเหรียญหน้าจมเป็นเหรียญที่แกะด้วยฝีมือเป็นเลิศ เหรียญหลวงปู่ทองรุ่นแรกนี้ สร้างในราว ปี พ.ศ.2480 ซึ่งเป็น พระเครื่อง เหรียญรูปหลวงปู่เหรียญเดียวเท่านั้นที่สร้างในขณะที่ท่านยังดำรงชีวิตอยู่นอกจากเหรียญรุ่นนี้แล้ว ปรากฏว่า มีสานุศิษย์ของหลวงปู่ทองได้สร้างขึ้นอีก 2-3 แบบ สำหรับพระเครื่องวัตถุมงคลเหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา รุ่น 1 ซึ่งท่านอาจารย์แก้ว คำวิบูลย์ เป็นผู้สร้างนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 พิมพ์ด้วยกัน พิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าลอย พิมพ์นี้ รูปท่านลายเด่นอยู่เหนือพื้นเหรียญ สำหรับอีกพิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าจม นั้น รูปหน้าท่านจมลงไปในพื้นเหรียญอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่แสดงเป็นเบ้าตา , แก้มที่ตอบและรูปปากของท่านด้วยเอกลักษณะของพิมพ์ดังกล่าวแล้ว นักสะสมพระเครื่องจึงแยกเป็น พิมพ์หน้าลอยและพิมพ์หน้าจมสำหรับรายละเอียดนั้นเหมือนกันทั้ง ๒ พิมพ์ ผิดแต่ขนาดของพิมพ์หน้าลอยเล็กกว่าพิมพ์หน้าจมเล็กน้อยเท่าน

เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รุ่นเสาร์ห้า หลวงพ่อนุ่ม

เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รุ่นเสาร์ห้า หลวงพ่อนุ่ม เครดิตภาพ wep-pra นับเป็นพระเครื่องวัตถุมงคลอีกประเภทหนึ่งของ หลวงพ่อนุ่ม ที่ได้รับความนิยมมากความจริงแล้วพระในรุ่นเสาร์ห้านี้ หลวงพ่อได้จัดสร้างขึ้นรวม 3 แบบด้วยกันคือ เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม , พิมพ์พระนางพญา และ พิมพ์พระปางสมาธิ แต่ที่นิยมกันมากที่สุดมีราคาแพงที่สุด ก็ได้แก่ เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รองลงมาก็คือ พิมพ์นางพญา และพิมพ์สมาธิ ตามลำดับ ในส่วนของ พระเครื่อง เหรียญหล่อสี่เหลี่ยมนั้น เป็นพระขนาดประมาณ 2.3-3.2 ซ.ม. ด้านหน้าเป็นรูปพระองค์พระปางสมาธิ ฐาน 3 ชั้น อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยม เหนือฐานชั้นบนมีกลีบบัวรองรับองค์พระอยู่รวม 6 กลีบ ส่วนด้านหลังเป็นยันต์ตรีนิสิงเห สำหรับพิมพ์นางพญาและพิมพ์สมาธิ องค์พระเป็นรูปสามเหลี่ยมปางมารวิชัย และปางสมาธิ ส่วนด้านหลังจะเรียบทั้ง 2 พิมพ์ ทั้ง 3 แบบพิมพ์พระเครื่องนี้ จัดสร้างขึ้นโดยการหล่อด้วยด้วยเนื้อทองเหลืองและด้วยการเป็นพระหล่อนี่เองทำให้พุทธลักษณะและเนื้อหาขององค์พระเครื่องประกอบกันเข้าแล้ว ดูสวยแปลกตาและมีเสน่ห์ไม่แพ้เหรียญหล่อหรือพระหล่อจากสำนักใดๆเลย ในด้านพุทธคุณไม่ถือเป็นรอง

พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด

พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา เครดิตภาพ: web pra พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด แบ่งออกเป็น 3 พิมพ์ ด้วยกัน คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พุทธลักษณะพระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด พุทธลักษณะคล้ายพระกริ่ง 79 สมเด็จพระสังฆราชแพ โดยเฉพาะ พิมพ์ใหญ่ ด้านหลังมีตัว อุ อยู่ตรงกลางฐาน หล่อด้วยเนื้อทองผสม บางองค์เนื้อจัดมาก ผิวแบบเนื้อสัมฤทธิ์ก็มี  บางองค์แก่ทองเหลือง บางองค์แก่ทองแดง ในพิธีการเททองหล่อพระกริ่ง บางหอย นี้ ได้จัดสร้าง พระรูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อจาด ด้วย แต่น้อยมาก นักสะสมพระเครื่องส่วนใหญ่ไม่รู้จักยกเว้นคนพื้นที่ พระรูปหล่อลอยองค์มี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานตอกชื่อ สวัสดิ์ ผ่องสกุล (สันนิษฐานว่าเป็นชื่อผู้สร้าง) , พิมพ์ฐานจาร(แต่บางคนองค์ไม่มี)พระกริ่ง บางหอย พิจารณาเล่นหาได้ง่าย และมีจำนวนพระเครื่องที่หมุนเวียนเปลี่ยนมือในวงการก็มีมากพอเพียง และที่สำคัญราคาเช่าหายังพอสู้กันไหว พระกริ่ง บางหอย พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ส่วนใหญ่ที่พบมักจะหล่องดงามมาแต่เดิม จึงไม่จำเป็นต้องแต่ง แต่ก็มีบ้างที่แต่งเซาะเนื้อรายละเอียดบางแห่ง อาทิ จีวรข้างแขน,บาตรน้ำมนต์ในองค์ที่หล่