ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระพิมพ์วงเขน กรุวัดนาสนธิ์


พระพิมพ์วงเขน กรุวัดนาสนธิ์

วัดนาสนธิ์ นับเป็นวัดเก่าแก่และสำคัญควบคู่กับวัดท่าเรือ ได้รับการสถาปนามาจากพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เมื่อครั้งสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ทรงศรีวิชัยยุคแรก หรือเมื่อคราวสร้างเมืองพระเวียงเป็นเมืองหลวงที่สองของอาณาจักรตามพรลิงค์บนหาดทรายแก้วในระหว่าง พ.ศ. 1089-1300 วัดนาสนธิ์อยู่ติดกับวัดเตาปูน ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งเตาเผาเปลือกหอยเพื่อทำปูนขาวผสมยางไม้และข้าวเหนียวสำหรับก่อ สร้างพระธาตุเจดีย์ สันนิษฐานว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชคงเสด็จมาตรวจเตาปูน และทรงเห็นว่าเป็นสถานที่ที่สงบวิเวกเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรภาวนาของพระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี ครั้นเมื่อสร้างพระธาตุเจดีย์แล้วเสร็จ จึงได้สถาปนาที่ตั้งเตาปูนเป็น "วัดเตาปูน" และที่ประทับชั่วคราวเมื่อเสด็จมาตรวจดูเตาปูนเป็น "วัดนาสนธิ์" จากนั้นโปรดฯ ให้สร้างพระพิมพ์บรรจุกรุไว้เพื่อสืบทอดอายุพระศาสนาที่วัดนาสนธิ์ด้วย

สมัยเมื่อ 20-30 ปีมาแล้ว "พระไตรภาคี" นับเป็นพระเครื่องยอดนิยมและมีชื่อเสียงเป็นอันดับหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรม ราช มีด้วยกัน 3 พิมพ์ คือ พระพิมพ์ปรกโพธิ์ใหญ่นิยม กรุวัดท่าเรือ (วัดท่าโพธิ์) พระพิมพ์นาคปรกใหญ่ กรุวัดนางตรา และพระพิมพ์ใบพุทราหรือพิมพ์ยอดขุนพล กรุวัดนาสนธิ์ หรือที่เรียกขานกันในวงการพระยุคนั้นว่า "ท่าเรือ นางตรา นาสนธิ์" ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงเป็นที่นิยมสูงและเป็นที่เสาะแสวงหากันอยู่ แต่ค่อนข้างจะหาดูได้ยากมาก สำหรับพระพิมพ์วงเขน กรุวัดนาสนธิ์ ก็เป็นอีกหนึ่งพิมพ์ของกรุวัด นาสนธิ์ ที่น่าสนใจสะสม นอกเหนือจากพระพิมพ์ใบพุทราอันเลื่องชื่อแล้วครับผม

ไม่ว่าจะเป็น พระเครื่อง พระพิมพ์ใดใน 3 พิมพ์ ถ้าขึ้นชื่อว่า "พระกรุวัดนาสนธิ์" แล้ว การันตีเรื่องพุทธคุณที่เรียกได้ว่า "ครอบจักรวาล" ทั้งอำนาจ วาสนา บารมี โชคลาภ คงกระพัน ดังคำโบราณกล่าวไว้ว่า "ผู้มีพระพิมพ์ศรีวิชัยติดตัว ย่อมมีชัยชนะอย่างสง่างามในทุกด้าน"

พระเครื่อง พระกรุวัดนาสนธิ์ เท่าที่พบมี 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใบพุทราหรือพิมพ์ยอดขุนพล ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นพระยอดนิยมอันดับหนึ่ง เป็นพระศิลปะศรีวิชัยยุคต้นบริสุทธิ์ ประมาณปี พ.ศ.1100-1300 พุทธศิลป์จะเป็นแนวอินเดียสกุลช่างปาละเสนะ อันเป็นต้นแบบพุทธศิลป์ที่เรียกว่า "ขนมต้ม" ของเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยต่อมา พิมพ์ที่ 2 คือ พิมพ์ผานไถ ส่วนพิมพ์สุดท้ายที่จะได้กล่าวถึงคือ พิมพ์วงเขน หรือพิมพ์พระจันทร์เต็มดวง

พระพิมพ์วงเขน หรือพิมพ์พระจันทร์เต็มดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9.5 เซนติเมตร เนื้อมวลสารค่อนข้างละเอียด สีผิวขององค์พระออกสีเหลืองนวล ปรากฏแร่ลูกรัง ชิ้นส่วนเปลือกหอยกาบ และแร่ว่านดอกมะขามผุดประปรายอยู่ทั่วองค์พระ มีเม็ดทรายแก้วขนาดเขื่องสีขุ่นขาวมีอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านหลังขององค์พระแต่ไม่มากนัก จุดสังเกตที่น่าจดจำคือ พระทุกๆ องค์จะต้องมีเส้นอย่างน้อยหนึ่งเส้นปรากฏลึกคมชัดอยู่ด้านหลังองค์พระ และมีรารักดำจับแน่นอยู่ตามซอกหรือด้านหลังขององค์พระด้วย

พระพิมพ์นี้ได้รับความนิยมรองๆ ลงมาจากพิมพ์ใบพุทรา ปัจจุบันก็หาดูหาเช่ายากพอๆ กัน และนอกจากพบที่กรุวัดนาสนธิ์แล้ว ยังมีปรากฏที่กรุวัดท่าเรือเช่นกัน แต่จะมีจุดสังเกตความแตกต่างง่ายๆ คือ ถ้าเนื้อหยาบ มีเม็ดทรายมาก เป็นของ "กรุวัดท่าเรือ" ถ้าเนื้อละเอียด หนึกนุ่ม เป็นของ "กรุวัดนาสนธิ์"
ที่มา:ข่าวสด
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง:บทความพระเครื่อง

Daddy Yummy

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา พระเกจิอาจารย์ที่มีอายุยืนยาวที่สุดถึง 117 ปี ท่านครองวัดซึ่งอยู่โดดเดี่ยวภายในแวดวงของอิสลามมิกชน ขอบคุณภาพสวยๆจาก ทีนิวส์ หลวงปู่ทองเหรียญหน้าจมเป็นเหรียญที่แกะด้วยฝีมือเป็นเลิศ เหรียญหลวงปู่ทองรุ่นแรกนี้ สร้างในราว ปี พ.ศ.2480 ซึ่งเป็น พระเครื่อง เหรียญรูปหลวงปู่เหรียญเดียวเท่านั้นที่สร้างในขณะที่ท่านยังดำรงชีวิตอยู่นอกจากเหรียญรุ่นนี้แล้ว ปรากฏว่า มีสานุศิษย์ของหลวงปู่ทองได้สร้างขึ้นอีก 2-3 แบบ สำหรับพระเครื่องวัตถุมงคลเหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา รุ่น 1 ซึ่งท่านอาจารย์แก้ว คำวิบูลย์ เป็นผู้สร้างนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 พิมพ์ด้วยกัน พิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าลอย พิมพ์นี้ รูปท่านลายเด่นอยู่เหนือพื้นเหรียญ สำหรับอีกพิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าจม นั้น รูปหน้าท่านจมลงไปในพื้นเหรียญอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่แสดงเป็นเบ้าตา , แก้มที่ตอบและรูปปากของท่านด้วยเอกลักษณะของพิมพ์ดังกล่าวแล้ว นักสะสมพระเครื่องจึงแยกเป็น พิมพ์หน้าลอยและพิมพ์หน้าจมสำหรับรายละเอียดนั้นเหมือนกันทั้ง ๒ พิมพ์ ผิดแต่ขนาดของพิมพ์หน้าลอยเล็กกว่าพิมพ์หน้าจมเล็กน้อยเท่าน

เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รุ่นเสาร์ห้า หลวงพ่อนุ่ม

เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รุ่นเสาร์ห้า หลวงพ่อนุ่ม เครดิตภาพ wep-pra นับเป็นพระเครื่องวัตถุมงคลอีกประเภทหนึ่งของ หลวงพ่อนุ่ม ที่ได้รับความนิยมมากความจริงแล้วพระในรุ่นเสาร์ห้านี้ หลวงพ่อได้จัดสร้างขึ้นรวม 3 แบบด้วยกันคือ เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม , พิมพ์พระนางพญา และ พิมพ์พระปางสมาธิ แต่ที่นิยมกันมากที่สุดมีราคาแพงที่สุด ก็ได้แก่ เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รองลงมาก็คือ พิมพ์นางพญา และพิมพ์สมาธิ ตามลำดับ ในส่วนของ พระเครื่อง เหรียญหล่อสี่เหลี่ยมนั้น เป็นพระขนาดประมาณ 2.3-3.2 ซ.ม. ด้านหน้าเป็นรูปพระองค์พระปางสมาธิ ฐาน 3 ชั้น อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยม เหนือฐานชั้นบนมีกลีบบัวรองรับองค์พระอยู่รวม 6 กลีบ ส่วนด้านหลังเป็นยันต์ตรีนิสิงเห สำหรับพิมพ์นางพญาและพิมพ์สมาธิ องค์พระเป็นรูปสามเหลี่ยมปางมารวิชัย และปางสมาธิ ส่วนด้านหลังจะเรียบทั้ง 2 พิมพ์ ทั้ง 3 แบบพิมพ์พระเครื่องนี้ จัดสร้างขึ้นโดยการหล่อด้วยด้วยเนื้อทองเหลืองและด้วยการเป็นพระหล่อนี่เองทำให้พุทธลักษณะและเนื้อหาขององค์พระเครื่องประกอบกันเข้าแล้ว ดูสวยแปลกตาและมีเสน่ห์ไม่แพ้เหรียญหล่อหรือพระหล่อจากสำนักใดๆเลย ในด้านพุทธคุณไม่ถือเป็นรอง

พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด

พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา เครดิตภาพ: web pra พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด แบ่งออกเป็น 3 พิมพ์ ด้วยกัน คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พุทธลักษณะพระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด พุทธลักษณะคล้ายพระกริ่ง 79 สมเด็จพระสังฆราชแพ โดยเฉพาะ พิมพ์ใหญ่ ด้านหลังมีตัว อุ อยู่ตรงกลางฐาน หล่อด้วยเนื้อทองผสม บางองค์เนื้อจัดมาก ผิวแบบเนื้อสัมฤทธิ์ก็มี  บางองค์แก่ทองเหลือง บางองค์แก่ทองแดง ในพิธีการเททองหล่อพระกริ่ง บางหอย นี้ ได้จัดสร้าง พระรูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อจาด ด้วย แต่น้อยมาก นักสะสมพระเครื่องส่วนใหญ่ไม่รู้จักยกเว้นคนพื้นที่ พระรูปหล่อลอยองค์มี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานตอกชื่อ สวัสดิ์ ผ่องสกุล (สันนิษฐานว่าเป็นชื่อผู้สร้าง) , พิมพ์ฐานจาร(แต่บางคนองค์ไม่มี)พระกริ่ง บางหอย พิจารณาเล่นหาได้ง่าย และมีจำนวนพระเครื่องที่หมุนเวียนเปลี่ยนมือในวงการก็มีมากพอเพียง และที่สำคัญราคาเช่าหายังพอสู้กันไหว พระกริ่ง บางหอย พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ส่วนใหญ่ที่พบมักจะหล่องดงามมาแต่เดิม จึงไม่จำเป็นต้องแต่ง แต่ก็มีบ้างที่แต่งเซาะเนื้อรายละเอียดบางแห่ง อาทิ จีวรข้างแขน,บาตรน้ำมนต์ในองค์ที่หล่