ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เหรียญหลวงพ่ออุปัชฌาย์ก๋ง


เหรียญหลวงพ่ออุปัชฌาย์ก๋ง


พระอุปัชฌาย์ก๋ง หรือที่รู้จักกันในนาม "หลวงปู่ก๋ง" เกิดที่ ต.เขาสมอคอน จ.ลพบุรี เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ปีระกา ในสมัยรัชกาลที่ 3 ตอนเด็กร่ำเรียนหนังสือไทยและขอมที่วัดเขาสมอคอน จนอายุครบอุปสมบทจึงเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ณ วัดเขาสมอคอน โดยมีพระอุปัชฌาย์จีนเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อทับเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อชื่นเป็นพระอนุศาสนาจารย์ ได้รับฉายา "จันทสโร" ศึกษาพระปริยัติธรรมและวิทยาคมต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์จีน และด้วยความที่ท่านเป็นผู้ใฝ่ศึกษาหาความรู้จึงเดินทางไปศึกษาพระธรรมและวิทยาการต่างๆ จากพระเกจิอาจารย์หลายท่าน ถ้าหลวงปู่ก๋งเห็นว่าดีก็จะฝากตัวเป็นลูกศิษย์ทันที ทั้งวัดในท้องถิ่น อาทิ วัดแถมท้องคุ้ง วัดบ้านไร่ วัดมุจรินทร์ วัดบางลี่ ฯลฯ

พระเครื่อง เหรียญหลวงพ่ออุปัชฌาย์ก๋ง เป็นเหรียญเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีของชาวเมืองลพบุรีและจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์ เรียกได้ว่าเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในตัวผู้สร้าง คือ พระอุปัชฌาย์ก๋ง จันทสโร วัดเขาสมอคอน พระเกจิชื่อดังแห่งเมืองลพบุรี และพุทธคุณปรากฏเป็นที่ประจักษ์ของผู้บูชา และที่สำคัญ..เป็นเหรียญที่สร้างเพียงรุ่นเดียวเท่านั้นครับผม

แม้กระทั่งเดินทางเข้ากรุงเทพฯ มาจำพรรษาที่วัดน้อย บางยี่ขัน ฯลฯ ท่านก็บากบั่นมาเพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม จากนั้นจึงเดินทางกลับ จ.ลพบุรี รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านลี่อยู่ 5 พรรษา แล้วจึงกลับมาปกครองวัดเขาสมอคอนในที่สุด
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งมีความเลื่อมใสศรัทธาและเสด็จมานมัสการท่านถึงที่วัดเขาสมอคอน โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ ท่านมรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2468 ปีฉลู สิริรวมอายุได้ 125 ปี

พระเครื่อง เหรียญหลวงพ่ออุปัชฌาย์ก๋ง สร้างขึ้นเป็น 3 เนื้อ คือ เงิน ทองแดง และอะลูมิเนียม ลักษณะเป็นเหรียญรูปอาร์ม หูในตัว พิมพ์ด้านหน้า ยกขอบโดยรอบ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนพระอุปัชฌาย์ก๋งเต็มองค์ ห่มจีวรเฉียง พาดสังฆาฏิ รัดประคดเอวเป็นหัวพระพิรอด นั่งขัดสมาธิบนอาสนะรองรับด้วยฐานบัวเข็ม ด้านข้างของฐานทั้งสองข้างมีขนหางหงส์วาดขึ้นไปแผ่พังพานเป็นพญานาค ด้านบนจารึกอักษรไทยว่า "หลวงพ่อ" ด้านล่างว่า "อุปัชฌาก๋ง" พิมพ์ด้านหลัง ยกขอบโดยรอบ เรียบบ้าง เป็นเม็ดไข่ปลาบ้าง ตรงกลางเป็น "ยันต์แหวนพระพิรอด" อันเข้มขลัง ลักษณะเป็นรูปพญางู 2 หัว มีหางมัดเป็นเกลียวเป็นอุณาโลมขึ้นไป ด้านบนสุดเป็นฉัพพรรณรังสี 10 แฉก มีอักษรจารึกเป็นภาษาไทยว่า "ที่ รฤก วัดเขา สมอคร"
พระอุปัชฌาย์ก๋ง ได้สร้างวัตถุมงคลทั้ง ขี้ผึ้งเมตตามหานิยม แหวนพิรอดทำจากกระดาษข่อย และเหรียญรูปเหมือน ซึ่งล้วนมีพุทธคุณเป็นเลิศทั้งด้านเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรี แต่ที่ยังคงอยู่ให้ได้เห็นเป็นบุญตาก็เห็นจะเป็นเหรียญรูปเหมือนที่เป็นรุ่นแรกและรุ่นเดียวเท่านั้น
เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้อง:บทความพระเครื่อง
หลวงพ่อเงิน

Daddy Yummy

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา พระเกจิอาจารย์ที่มีอายุยืนยาวที่สุดถึง 117 ปี ท่านครองวัดซึ่งอยู่โดดเดี่ยวภายในแวดวงของอิสลามมิกชน ขอบคุณภาพสวยๆจาก ทีนิวส์ หลวงปู่ทองเหรียญหน้าจมเป็นเหรียญที่แกะด้วยฝีมือเป็นเลิศ เหรียญหลวงปู่ทองรุ่นแรกนี้ สร้างในราว ปี พ.ศ.2480 ซึ่งเป็น พระเครื่อง เหรียญรูปหลวงปู่เหรียญเดียวเท่านั้นที่สร้างในขณะที่ท่านยังดำรงชีวิตอยู่นอกจากเหรียญรุ่นนี้แล้ว ปรากฏว่า มีสานุศิษย์ของหลวงปู่ทองได้สร้างขึ้นอีก 2-3 แบบ สำหรับพระเครื่องวัตถุมงคลเหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา รุ่น 1 ซึ่งท่านอาจารย์แก้ว คำวิบูลย์ เป็นผู้สร้างนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 พิมพ์ด้วยกัน พิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าลอย พิมพ์นี้ รูปท่านลายเด่นอยู่เหนือพื้นเหรียญ สำหรับอีกพิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าจม นั้น รูปหน้าท่านจมลงไปในพื้นเหรียญอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่แสดงเป็นเบ้าตา , แก้มที่ตอบและรูปปากของท่านด้วยเอกลักษณะของพิมพ์ดังกล่าวแล้ว นักสะสมพระเครื่องจึงแยกเป็น พิมพ์หน้าลอยและพิมพ์หน้าจมสำหรับรายละเอียดนั้นเหมือนกันทั้ง ๒ พิมพ์ ผิดแต่ขนาดของพิมพ์หน้าลอยเล็กกว่าพิมพ์หน้าจมเล็กน้อยเท่าน

เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รุ่นเสาร์ห้า หลวงพ่อนุ่ม

เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รุ่นเสาร์ห้า หลวงพ่อนุ่ม เครดิตภาพ wep-pra นับเป็นพระเครื่องวัตถุมงคลอีกประเภทหนึ่งของ หลวงพ่อนุ่ม ที่ได้รับความนิยมมากความจริงแล้วพระในรุ่นเสาร์ห้านี้ หลวงพ่อได้จัดสร้างขึ้นรวม 3 แบบด้วยกันคือ เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม , พิมพ์พระนางพญา และ พิมพ์พระปางสมาธิ แต่ที่นิยมกันมากที่สุดมีราคาแพงที่สุด ก็ได้แก่ เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รองลงมาก็คือ พิมพ์นางพญา และพิมพ์สมาธิ ตามลำดับ ในส่วนของ พระเครื่อง เหรียญหล่อสี่เหลี่ยมนั้น เป็นพระขนาดประมาณ 2.3-3.2 ซ.ม. ด้านหน้าเป็นรูปพระองค์พระปางสมาธิ ฐาน 3 ชั้น อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยม เหนือฐานชั้นบนมีกลีบบัวรองรับองค์พระอยู่รวม 6 กลีบ ส่วนด้านหลังเป็นยันต์ตรีนิสิงเห สำหรับพิมพ์นางพญาและพิมพ์สมาธิ องค์พระเป็นรูปสามเหลี่ยมปางมารวิชัย และปางสมาธิ ส่วนด้านหลังจะเรียบทั้ง 2 พิมพ์ ทั้ง 3 แบบพิมพ์พระเครื่องนี้ จัดสร้างขึ้นโดยการหล่อด้วยด้วยเนื้อทองเหลืองและด้วยการเป็นพระหล่อนี่เองทำให้พุทธลักษณะและเนื้อหาขององค์พระเครื่องประกอบกันเข้าแล้ว ดูสวยแปลกตาและมีเสน่ห์ไม่แพ้เหรียญหล่อหรือพระหล่อจากสำนักใดๆเลย ในด้านพุทธคุณไม่ถือเป็นรอง

พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด

พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา เครดิตภาพ: web pra พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด แบ่งออกเป็น 3 พิมพ์ ด้วยกัน คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พุทธลักษณะพระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด พุทธลักษณะคล้ายพระกริ่ง 79 สมเด็จพระสังฆราชแพ โดยเฉพาะ พิมพ์ใหญ่ ด้านหลังมีตัว อุ อยู่ตรงกลางฐาน หล่อด้วยเนื้อทองผสม บางองค์เนื้อจัดมาก ผิวแบบเนื้อสัมฤทธิ์ก็มี  บางองค์แก่ทองเหลือง บางองค์แก่ทองแดง ในพิธีการเททองหล่อพระกริ่ง บางหอย นี้ ได้จัดสร้าง พระรูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อจาด ด้วย แต่น้อยมาก นักสะสมพระเครื่องส่วนใหญ่ไม่รู้จักยกเว้นคนพื้นที่ พระรูปหล่อลอยองค์มี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานตอกชื่อ สวัสดิ์ ผ่องสกุล (สันนิษฐานว่าเป็นชื่อผู้สร้าง) , พิมพ์ฐานจาร(แต่บางคนองค์ไม่มี)พระกริ่ง บางหอย พิจารณาเล่นหาได้ง่าย และมีจำนวนพระเครื่องที่หมุนเวียนเปลี่ยนมือในวงการก็มีมากพอเพียง และที่สำคัญราคาเช่าหายังพอสู้กันไหว พระกริ่ง บางหอย พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ส่วนใหญ่ที่พบมักจะหล่องดงามมาแต่เดิม จึงไม่จำเป็นต้องแต่ง แต่ก็มีบ้างที่แต่งเซาะเนื้อรายละเอียดบางแห่ง อาทิ จีวรข้างแขน,บาตรน้ำมนต์ในองค์ที่หล่