ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พัทธสีมา"วัดจันทราวาส" ศิลปะปูนปั้นช่างเมืองเพชร


พัทธสีมา"วัดจันทราวาส" ศิลปะปูนปั้นช่างเมืองเพชร




"เพชรบุรี" นอกจากจะมีพระเกจิอาจารย์ ชื่อดังนับไม่ถ้วนแล้ว สิ่งที่ขึ้นชื่อลือชาปรากฏอยู่ตามวัดวาอารามต่างๆ ก็คือ ศิลปะปูนปั้นฝีมือช่างชาวเมืองเพชรที่ไม่มีจังหวัดใดเสมอเหมือน ทั้งในเรื่องของความงดงามอ่อนช้อย และแนวคิดในการรังสรรค์เรื่องราว โดยเฉพาะประติมากรรมปูนปั้นเชิงล้อเลียนการเมืองที่เคยเป็นข่าวฮือฮาในสื่อต่างๆ มาแล้ว

วัดจันทราวาส ต.ท่าราบ อ.เมือง จ.เพชรบุรี เป็นหนึ่งในวัดที่มีความเด่นทางด้านลายศิลปะปูนปั้นปรากฏอยู่ที่อุโบสถหลังใหม่ ตามประวัติเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งซึ่งสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นประมาณปีพ.ศ.2202 สมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ดิน ตั้งวัดมีเนื้อที่ 19 ไร่ 12 ตารางวา มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 3 แปลง เนื้อที่ 29 ไร่ 64 ตารางวา อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถหลังเก่ากว้าง 8 เมตร ยาว 21 เมตร ศาลาการเปรียญสร้างปีพ.ศ.2462 เป็นอาคารไม้ มีภาพเขียนพุทธประวัติ หอสวดมนต์ สร้างปี 2467, กุฏิสงฆ์อาคารไม้ 5 หลัง ศาลาบำเพ็ญกุศล 1 หลัง สร้างด้วยไม้ ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถ ตู้พระไตรปิฎก จำนวน 3 ใบ อายุประมาณ 152 ปี สร้างขึ้นเมื่อประมาณปีพ.ศ.2393 มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อพ.ศ. 2530 ปีพ.ศ.2534 ได้รับรางวัลวัดพัฒนาตัวอย่าง และปีพ.ศ.2535 ได้รับรางวัลวัดพัฒนาดีเด่น



ลำดับเจ้าอาวาสปกครองวัดจนถึงปัจจุบันรวม 11 รูปคือ 1.พระเสือ 2.พระกรุด 3.พระยา 4.พระพ่วง 5.พระวัด 6.พระอ่วม 7.พระคง 8.พระเพชร 9.พระครูชุ่ม พุทธสโร 10.พระครูปัญญาวัชรคุณ (ทองย้อย ปัญญาเตโช) พ.ศ.2511-2528 11.พระครูวินัยธร (ชุ่ม พุทธญาโณ) พ.ศ.2530-ปัจจุบัน และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลท่าราบ เขต 2

เมื่อปีพ.ศ.2533 ทางวัดได้ก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ ขนาด กว้าง 16.50 เมตร ยาว 35 เมตร ซึ่งโบสถ์หลัง นี้เน้นความงดงามด้วยลวดลายศิลปะปูนปั้นตระกูลช่างเมืองเพชร ในคราวนั้นพระครูวินัยธร(ชุ่ม) ได้จัดสร้างพระสมเด็จเนื้อผง เป็นที่ระลึกในการวางศิลาฤกษ์ โดยนิมนต์สุดยอดคณาจารย์ดังแห่งยุคมานั่งปรกปลุกเสกหลายท่าน อาทิ หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม, หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม, หลวงพ่อลำใย วัดทุ่งลาดหญ้า ฯลฯ ต่อมาในปีพ.ศ.2550 ได้จัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นงานยกช่อฟ้าอุโบสถ มีหลายแบบ เช่น ตะกรุด, เหรียญหลวงพ่อทวด หลังจตุคามรามเทพ, รูปหล่อ-ผ้ายันต์จตุคามรามเทพ ฯลฯ ทั้งนี้ วัตถุมงคลเก่าที่น่าสนใจของวัดมี อาทิ เบี้ยแก้ ได้มาจากโบสถ์หลังเก่า, เหรียญ รูปไข่หลวงพ่อชุ่ม พุทธสโร ปี 2512, เหรียญหลวงพ่อทองย้อย ปี 2522 เป็นธรรมเนียมของวัดโดยทั่วไป เมื่อถึงงานสำคัญ ของวัดก็จะจัดสร้างวัตถุมงคลไว้เป็นที่ระลึก เพื่อมอบให้พุทธศาสนิกชนที่มาร่วมบุญ



ล่าสุด ในโอกาสที่ทางวัดจันทราวาสจะจัดงานผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิต ระหว่าง วันที่ 13-21 ก.พ.2553 ได้มีการจัดสร้างวัตถุมงคลเป็นที่ระลึก เพื่อมอบสมนาคุณและให้ ผู้ที่มาร่วมงานเช่าบูชา ประกอบด้วย ล็อกเกตหลวงปู่ทวดและสมเด็จ โต, หลวงพ่อทวด เนื้อผงย้อนยุค, หลวงพ่อทวด รุ่นรัตนโกสินทร์, รูปหล่อหลวงพ่อทวด, สมเด็จโต, ใบโพธิ์รูปสมเด็จโต-หลวงพ่อทวด, พระพิฆเนศ, ผ้ายันต์สาริกาคู่, ผ้ายันต์ผืนใหญ่รุ่นสร้างอุโบสถ, ผ้ายันต์ประจำวันเกิด

วัตถุมงคลทั้งหมดนำเข้าพิธีพุทธา-เทวาภิเษก เมื่อวันเสาร์ที่ 9 ม.ค.2553 ตั้งแต่เวลา 08.30-17.30 น. ภายในอุโบสถวัดจันทราวาส โดยอาราธนา พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในแถบจ.สมุทรสงคราม, ราชบุรี, เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ มาร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิ พระราชสุวรรณมุนี เจ้าคณะจ.เพชรบุรี วัดมหาธาตุ, พระมงคลวรญาณ วัดใหญ่สุวรรณาราม, พระวิสุทธิวรกิจ วัดคงคาราม, พระโสภณศีลคุณ วัดตาลอัมรินทร์, หลวงพ่อเหนาะ วัดป้อม, หลวงพ่อคง วัดเขากลิ้ง, หลวงพ่อลำยง วัดปากน้ำปราณ, พระครูศรีธรรมาภรณ์ วัดแจ้งเจริญ, พระครูสมุทรรัตนวัฒน์ วัดแก้วเจริญ, พระมหาสมศักดิ์ วัดพระนอน, พระมหาคำรณ วัดนาค, พระครูวิธานวัชรพงษ์ วัดหุบกะพง, พระครูธรรมธรสมบุญ วัดโสดา ฯลฯ รายได้ทั้งหมดนำเข้าสมทบทุนสร้างโบสถ์หลังใหม่

ในโอกาสนี้ ทางวัดจึงขอเชิญญาติโยมพุทธศาสนิกชนร่วมทำบุญบูชาวัตถุมงคล และร่วมงานปิดทองฝังลูกนิมิตครั้งนี้ได้ตามความศรัทธา
พระพิจิตร

Daddy Yummy

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา

เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา พระเกจิอาจารย์ที่มีอายุยืนยาวที่สุดถึง 117 ปี ท่านครองวัดซึ่งอยู่โดดเดี่ยวภายในแวดวงของอิสลามมิกชน ขอบคุณภาพสวยๆจาก ทีนิวส์ หลวงปู่ทองเหรียญหน้าจมเป็นเหรียญที่แกะด้วยฝีมือเป็นเลิศ เหรียญหลวงปู่ทองรุ่นแรกนี้ สร้างในราว ปี พ.ศ.2480 ซึ่งเป็น พระเครื่อง เหรียญรูปหลวงปู่เหรียญเดียวเท่านั้นที่สร้างในขณะที่ท่านยังดำรงชีวิตอยู่นอกจากเหรียญรุ่นนี้แล้ว ปรากฏว่า มีสานุศิษย์ของหลวงปู่ทองได้สร้างขึ้นอีก 2-3 แบบ สำหรับพระเครื่องวัตถุมงคลเหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา รุ่น 1 ซึ่งท่านอาจารย์แก้ว คำวิบูลย์ เป็นผู้สร้างนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 พิมพ์ด้วยกัน พิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าลอย พิมพ์นี้ รูปท่านลายเด่นอยู่เหนือพื้นเหรียญ สำหรับอีกพิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์หน้าจม นั้น รูปหน้าท่านจมลงไปในพื้นเหรียญอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่แสดงเป็นเบ้าตา , แก้มที่ตอบและรูปปากของท่านด้วยเอกลักษณะของพิมพ์ดังกล่าวแล้ว นักสะสมพระเครื่องจึงแยกเป็น พิมพ์หน้าลอยและพิมพ์หน้าจมสำหรับรายละเอียดนั้นเหมือนกันทั้ง ๒ พิมพ์ ผิดแต่ขนาดของพิมพ์หน้าลอยเล็กกว่าพิมพ์หน้าจมเล็กน้อยเท่าน

เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รุ่นเสาร์ห้า หลวงพ่อนุ่ม

เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รุ่นเสาร์ห้า หลวงพ่อนุ่ม เครดิตภาพ wep-pra นับเป็นพระเครื่องวัตถุมงคลอีกประเภทหนึ่งของ หลวงพ่อนุ่ม ที่ได้รับความนิยมมากความจริงแล้วพระในรุ่นเสาร์ห้านี้ หลวงพ่อได้จัดสร้างขึ้นรวม 3 แบบด้วยกันคือ เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม , พิมพ์พระนางพญา และ พิมพ์พระปางสมาธิ แต่ที่นิยมกันมากที่สุดมีราคาแพงที่สุด ก็ได้แก่ เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม รองลงมาก็คือ พิมพ์นางพญา และพิมพ์สมาธิ ตามลำดับ ในส่วนของ พระเครื่อง เหรียญหล่อสี่เหลี่ยมนั้น เป็นพระขนาดประมาณ 2.3-3.2 ซ.ม. ด้านหน้าเป็นรูปพระองค์พระปางสมาธิ ฐาน 3 ชั้น อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยม เหนือฐานชั้นบนมีกลีบบัวรองรับองค์พระอยู่รวม 6 กลีบ ส่วนด้านหลังเป็นยันต์ตรีนิสิงเห สำหรับพิมพ์นางพญาและพิมพ์สมาธิ องค์พระเป็นรูปสามเหลี่ยมปางมารวิชัย และปางสมาธิ ส่วนด้านหลังจะเรียบทั้ง 2 พิมพ์ ทั้ง 3 แบบพิมพ์พระเครื่องนี้ จัดสร้างขึ้นโดยการหล่อด้วยด้วยเนื้อทองเหลืองและด้วยการเป็นพระหล่อนี่เองทำให้พุทธลักษณะและเนื้อหาขององค์พระเครื่องประกอบกันเข้าแล้ว ดูสวยแปลกตาและมีเสน่ห์ไม่แพ้เหรียญหล่อหรือพระหล่อจากสำนักใดๆเลย ในด้านพุทธคุณไม่ถือเป็นรอง

พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด

พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา เครดิตภาพ: web pra พระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด แบ่งออกเป็น 3 พิมพ์ ด้วยกัน คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พุทธลักษณะพระกริ่ง บางหอย หลวงพ่อจาด พุทธลักษณะคล้ายพระกริ่ง 79 สมเด็จพระสังฆราชแพ โดยเฉพาะ พิมพ์ใหญ่ ด้านหลังมีตัว อุ อยู่ตรงกลางฐาน หล่อด้วยเนื้อทองผสม บางองค์เนื้อจัดมาก ผิวแบบเนื้อสัมฤทธิ์ก็มี  บางองค์แก่ทองเหลือง บางองค์แก่ทองแดง ในพิธีการเททองหล่อพระกริ่ง บางหอย นี้ ได้จัดสร้าง พระรูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อจาด ด้วย แต่น้อยมาก นักสะสมพระเครื่องส่วนใหญ่ไม่รู้จักยกเว้นคนพื้นที่ พระรูปหล่อลอยองค์มี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานตอกชื่อ สวัสดิ์ ผ่องสกุล (สันนิษฐานว่าเป็นชื่อผู้สร้าง) , พิมพ์ฐานจาร(แต่บางคนองค์ไม่มี)พระกริ่ง บางหอย พิจารณาเล่นหาได้ง่าย และมีจำนวนพระเครื่องที่หมุนเวียนเปลี่ยนมือในวงการก็มีมากพอเพียง และที่สำคัญราคาเช่าหายังพอสู้กันไหว พระกริ่ง บางหอย พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ส่วนใหญ่ที่พบมักจะหล่องดงามมาแต่เดิม จึงไม่จำเป็นต้องแต่ง แต่ก็มีบ้างที่แต่งเซาะเนื้อรายละเอียดบางแห่ง อาทิ จีวรข้างแขน,บาตรน้ำมนต์ในองค์ที่หล่